วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


แบบทดสอบหลังการฝึกอบรม(Post-test)  UTQ  102   คะแนน  29.00/30.00
1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง ?
ก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
ข. สถานศึกษากำหนดตัวชี้วัดเอง
ค. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานให้
ง. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดตัวชี้วัดให้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ในการบริหารหลักสูตรระดับสถานศึกษา ?
ก. จัดทำมาตรฐานและตัวชี้วัดของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
ข. ส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรและงบประมาณ
ค. กำกับดูแลคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา
ง. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปรับปรุงมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 ในข้อใด
?
ก. 2542
ข. 2543
ค. 2544
ง. 2545
4. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ ของการศึกษารายวิชา การบริหารหลักสูตร (UTQ-102) ?
ก. มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การจัดทำหลักสูตรระดับชาติ
ข. มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการจัดทำหลักสูตรระดับสถานศึกษา
ค. มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการส่งเสริม สนับสนุน การใช้หลักสูตรระดับสถานศึกษา
ง. มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การกำกับดุแลคุณภาพการนำหลักสูตรระดับสถานศึกษาไปใช้
5. การบริหารจัดการหลักสูตรมีกี่ระดับ ?
ก. 2 ระดับ
ข. 3 ระดับ
ค. 4 ระดับ
ง. 5 ระดับ
6. ข้อใดกล่าวถึงรายวิชาพื้นฐานไม่ถูกต้อง ?
ก. เป็นรายวิชาที่นักเรียนทุกคนต้องเรียน
ข. เป็นรายวิชาที่นักเรียนเลือกเรียนได้ตามความถนัด
ค. เป็นรายวิชาที่เปลี่ยนแปลงมาตรฐานและตัวชี้วัดไม่ได้
ง. เป็นรายวิชาที่สถานศึกษาต้องจัดการสอนให้ครบ
7. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมใดที่เพิ่มเติมในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ?
ก. กิจกรรมแนะแนว
ข. กิจกรรมชมรม
ค. กิจกรรมลูกเสือ
ง. กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและสาธารณประโยชน์
8. สิ่งใดกำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ที่ไม่สามารถปรับหรือ
เพิ่มเติมได้เมื่อไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
?
ก. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ข. ตัวชี้วัด
ค. วิสัยทัศน์
ง. สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
9. หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระดับประถมศึกษา กำหนดให้มีเวลาเรียนทั้งสิ้น
ไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อปี
?
ก. จ. 840 ชั่วโมง/ปี
ข. ฉ. 1,000 ชั่วโมง/ปี
ค. ช. 1,200 ชั่วโมง/ปี
ง. ซ. 1,500 ชั่วโมง/ปี
10. ข้อใดกล่าวถึงรายวิชาเพิ่มเติมไม่ถูกต้อง ?
ก. เป็นรายวิชาที่เปิดตามความต้องการของผู้เรียน
ข. เป็นรายวิชาที่เปิดตามความต้องการของท้องถิ่น
ค. เป็นรายวิชาที่นำตัวชี้วัดจากหลักสูตรแกนกลางมาใช้
ง. กำหนด ผลการเรียนรู้เป็นเป้าหมายแทนตัวชี้วัด
11. บุคลใดมีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำโครงสร้างรายวิชา และออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ?
ก. ครูผู้สอนประจำรายวิชา
ข. คณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ค. ครูวิชาการของโรงเรียน
ง. คณะกรรมการสถานศึกษา
12. ผู้ลงนามในประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษาคือบุคลใด ?
ก. ผู้แทนชุมชน
ข. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา
ง. ผู้บริหารสถานศึกษา และประธานกรรมการสถานศึกษา
13. ขั้นตอนแรกในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ?
ก. วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
ข. แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน
ค. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
ง. คณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ
14. บุคคลใดเกี่ยวข้องในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาน้อยที่สุด ?
ก. ผู้บริหาร
ข. ครู
ค. นักการเมือง
ง. ผู้ปกครองและนักเรียน
15. ข้อใดไม่ใช่ข้อดีในการใช้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ ?
ก. เหมาะกับครูที่ทำการสอนหลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้
ข. ลดภาระการวัดและการประเมินผลของครู
ค. ช่วยให้ครูไม่ต้องประเมินผลครบทุกตัวชี้วัด
ง. เหมาะกับโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นเรียน
16. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดโครงสร้างรายวิชา ?
ก. หน่วยการเรียนรู้
ข. สาระการเรียนรู้
ค. ตัวชี้วัด/เวลา
ง. เกณฑ์การประเมิน
17. ในหน่วยการเรียนรู้ การที่จะทำให้นักเรียนมีมาตรฐานตามตัวชี้วัดข้อใดคือสิ่งสำคัญที่สุด ?
ก. ชื่อหน่วยการเรียนรู้
ข. กิจกรรมการเรียนรู้
ค. เวลาเรียน
ง. จำนวนนักเรียน
18. หัวใจของการจัดทำหลักสูตรระดับสถานศึกษาสู่ชั้นเรียนคือข้อใด ?
ก. โครงสร้างรายวิชา
ข. หน่วยการเรียนรู้
ค. สาระสำคัญ
ง. มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
19. ผู้นำสำคัญในการสร้างบรรยากาศของการร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมทำหลักสูตรสถานศึกษาคือข้อใด ?
ก. ผู้ปกครอง
ข. คณะครู
ค. ผู้บริหารสถานศึกษา
ง. ผู้นำชุมชน
20. ข้อใดไม่เกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรในการทำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้
อย่างมีประสิทธิภาพ
?
ก. การจัดสื่อวัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะสมเพียงพอ
ข. จัดอาคารสถานที่ต่างๆให้พอเพียงและเอื้อต่อการเรียนการสอน
ค. จัดครูเข้าสอนตรงความรู้ความสามารถและความถนัด
ง. จัดประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องส่งเสริมการสร้างเครือข่าย
21. ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริม สนับสนุน การใช้หลักสูตรระดับสถานศึกษา ?
ก. การนิเทศ กำกับติดตาม
ข. การพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา
ค. การส่งเสริมสนับสนุนทางวิชาการ
ง. การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม
22. ขั้นตอนแรกของการพัฒนาบุคลากรคือข้อใด ?
ก. ประเมินความต้องการและความจะเป็นในการพัฒนาบุคลากร
ข. แต่งตั้งคณะทำงานด้านการพัฒนาบุคลากร
ค. จัดแหล่งเรียนรู้ หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้แก่บุคลากร
ง. ดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามแผนที่วางไว้
23. กิจกรรมใดเกี่ยวกับการสนับสนุนทางวิชาการของสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรและ
การจัดการเรียนรู้ น้อยที่สุด
?
ก. การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ
ข. จัดระบบการบริหารงานทางวิชาการที่มีประสิทธิภาพ
ค. ส่งเสริมสนับสนุนครูเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ง. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษา
24. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์หลักของการวิจัยในชั้นเรียน?
ก. เพื่อแก้ปัญหาในการเรียนการสอน
ข. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาการเรียนของนักเรียน
ค. เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนของครู
ง. เพื่อจัดทำสื่อและหาประสิทธิภาพ
25. การประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาควรมุ่งเน้นการประเมินเรื่องใดที่สำคัญที่สุด ?
ก. องค์ประกอบของหลีกสูตร
ข. โครงสร้างของหลักสูตร
ค. คุณภาพของผู้เรียนทั้งผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ง. หน่วยการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้
26. การวิจัยในชั้นเรียนนั้นครูควรเริ่มต้นจากสิ่งใดก่อนข้ออื่น ?
ก. เลือกปัญหาสำคัญในการสอนของครู
ข. เลือกปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้ปกครอง
ค. เลือกปัญหาด้านพฤติกรรมของนักเรียน
ง. เลือกปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อผู้เรียนมากที่สุด
27. นิเทศ ติดตาม การใช้หลักสูตรมีจุดประสงค์สำคัญที่สุดคือข้อใด ?
ก. ช่วยตรวจสอบกระบวนการสอนของครู
ข. เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เรียน
ค. เป็นการพัฒนาดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ง. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนด
28. กระบวนการนิเทศ ติดตาม ข้อใดไม่ควรใช้ในสถานศึกษา ?
ก. ผู้บริหารกำหนดวิธีการในการนิเทศติดตาม
ข. นิเทศเป็นระบบครบวงจรต่อเนื่องและครอบคลุม
ค. ร่วมกันกำหนดความต้องการหรือกำกับติดตามในการนิเทศ
ง. สร้างความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการนิเทศในเชิงบวก
29. ในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามุ่งพัฒนาคุณภาพด้านใดมากที่สุด ?
ก. ผู้บริหาร
ข. ครูผู้สอน
ค. ผู้เรียน
ง. การจัดการเรียนการสอน
30. ข้อใดไม่ใช่ประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องในการประเมินผลการใช้หลักสูตร ?
ก. ปัจจัยของการใช้หลักสูตร
ข. กระบวนการใช้หลักสูตร
ค. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ง. เทคนิคและทักษะการสอนของครู


1 ความคิดเห็น: