วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันสุนทรภู่

๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗  โรงเรียนอนุบาลพุทไธสง(โอภาสประชานุกูล)

  ชีวประวัติ "สุนทรภู่"
          สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ
อำเภอแกลง 



นายวิรัช  ปัญญาวานิชกุล ผู้อำนวยการโรงเรียน  กล่าวเปิดงาน

นางนิตติยา  ปรึกไธสง  กล่าวรายงาน
          "สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี




          จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"





 ผลงานของสุนทรภู่
          หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ
ประเภทนิราศ 
          - นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
          - นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
          - นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา

          - นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
          - นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
          - นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
          - รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท
          - นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
          - นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร




วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

๑ ทศวรรษ สพป.บุรีรัมย์ เขต ๔


 นางนิตติยา  ปรึกไธสง  รับรางวัลครูดีศรีแผ่นดิน

 นายธีรวุฒิ  พุทธการี  ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๔ เยี่ยมชมนิทรรศการ Best Practices รักการอ่าน
 ผลงานวันสุนทรภู่

 นักเรียนทำกิจกรรมหนังสือเล่มเล็ก ระดับ ป.4-6
ทุกคนภูมิใจกับรางวัลที่ได้รับครูดีศรีแผ่นดิน  ระดับ สพป.บุรีรัมย์ เขต ๔


วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันสุนทรภู่

วันสุนทรภู่
๒๖ มิถุนายน  ๒๕๕๖
โรงเรียนอนุบาลพุทไธสง(โอภาสประชานุกูล)
นายเกรียงไกร  กะการดี
รองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง(โอภาสประชานุกูล)
ประธานกล่าวเปิดงานการจัดนิทรรศการวันสุนทรภู่

นางนิตติยา  ปรึกไธสง
กล่าวรายงานในการจัดนิทรรศการวัสุนทรภู่

ละครพากษ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ป.๕
มอบเกีรติบัตรให้กับนักเรียนชั้น ป. ๔แสดงละครเหมือน
ผลงานการแสดงละครพากษ์ภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.๖
เด็กๆ แสดงได้เยี่ยมจริง ๆ

ชมผลงานของตนเองและเพื่อน ๆ
คุณครูรับผิดชอบฐาน"คำราชาศัพท์"

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
             ในสมัยก่อน การเดินทางติดต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสานนั้น มีอุปสรรคคือจะต้องผ่านป่าดงดิบขนาดใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายมากมายทั้งสัตว์ร้ายและไข้ป่า ผู้คนที่เดินทางผ่านป่านี้ล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงได้ขนานนามว่า ดงพญาไฟ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านในคราวเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา ทรงเห็นว่าชื่อดงพญาไฟนี้ ฟังดูน่ากลัว จึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเป็นดงพญาเย็นตั้งแต่นั้นเป็นมา


                เมื่อมีการสร้างทางรถไฟ ชาวบ้านก็ได้เข้ามาจับจองพื้นที่กัน โดยเฉพาะบนยอดเขา โดยถางป่าเพื่อทำไร่ และในปี 2465 ได้ขอจัดตั้งเป็นตำบลเขาใหญ่ แต่ด้วยการที่จะเดินทางมายังยอดเขานี้ค่อนข้างลำบากห่างไกลจากการปกครองของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ตำบลเขาใหญ่จึงเป็นแหล่งซ่องสุมของโจรผู้ร้าย จนกระทั่งปี 2475 ทางราชการได้ส่งปลัดจ่างมาปราบโจรผู้ร้ายจนหมด แต่สุดท้ายปลัดจ่างก็เสียชีวิตด้วยไข้ป่า ได้ตั้งเป็นศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ เป็นที่เคารพนับถือจนปัจจุบันนี้[3]
                หลังจากปราบโจรผู้ร้ายหมดลงแล้ว ทางราชการเห็นว่าตำบลเขาใหญ่นี้ยากแก่การปกครอง อีกทั้งปล่อยไว้จะเป็นแหล่งซ่องสุมโจรผู้ร้ายอีก จึงได้ยุบตำบลเขาใหญ่ และให้ผู้คนที่อาศัยอยู่บนเขาทั้งหมดย้ายลงมาอาศัยอยู่ข้างล่าง ป่าที่ถูกถางเพื่อทำไร่นั้นปัจจุบันคือยังมีร่องรอยให้เห็นเป็นทุ่งหญ้าโล่งๆ บนเขาใหญ่นั่นเอง


                ปี 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เล็งเห็นว่าบริเวณเขาใหญ่นี้ มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งมีความสวยงาม เหมาะใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่มีปัญหาคือมีการตัดไม้ทำลายป่า จึงได้ให้มีการสำรวจพื้นที่บริเวณตำบลเขาใหญ่เดิมและบริเวณโดยรอบและได้ตราพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติขึ้น ตั้งเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติในปี 2505 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และได้ตัดถนนธนะรัชต์แยกออกมาจากถนนมิตรภาพมายังตัวเขาใหญ่ โดยถนนนี้ขึ้นมาบนเขาใหญ่แล้วจะแยกเป็นสองสาย คือไปสิ้นสุดที่น้ำตกเหวสุวัตสายหนึ่ง และไปสิ้นสุดที่เขาเขียวอีกสายหนึ่ง ซึ่งก่อนปี 2525 ถนนธนะรัชต์นี้เป็นเพียงถนนสายเดียวที่จะมายังเขาใหญ่ได้


                ในปี 2523 ได้มีการตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่ [4] โดยถนนนี้เปิดใช้งานในปี 2525 ทำให้สามารถเดินทางได้สะดวกขึ้น และเดินทางจากกรุงเทพมหานครใช้ระยะทางสั้นกว่า อีกทั้งเส้นทางยังชันและมีโค้งหักศอกน้อยกว่าถนนธนะรัชต์เดิม อีกทั้งยังทำให้การท่องเที่ยวในส่วนใต้ของอุทยานสะดวกขึ้น เช่น สามารถเดินทางมายังน้ำตกเหวนรกได้โดยตรง ซึ่งแต่เดิมจะต้องเดินเท้าเข้ามาจากอำเภอปากพลีแล้วเลาะมาตามหน้าผา แต่การตัดถนนใหม่สามารถนำรถยนต์เข้าไปจอดแล้วเดินเท้าประมาณ 1 กิโลเมตรก็ถึงน้ำตกเหวนรกได้แล้ว



                เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็น "มรดกโลกทางธรรมชาติ" จากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อกลุ่ม ดงพญาเย็น-เขาใหญ่
เที่ยวเกาะช้าง  จังหวัดตราด
เกาะช้าง เกาะสวรรค์ทะเลตะวันออก เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในทะเลตะวันออก เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ที่ครอบคลุมพื้นที่หมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 40 เกาะ อยู่ห่างจากฝั่งอำเภอแหลมงอบ ประมาณ 8 กม. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีเขาที่สูงที่สุดคือเขาสลักเพชร สูงประมาณ 740 เมตร และยังมี เขาล้าน เขาจอมปราสาท เขาคลองมะยม





                เกาะช้างจึงยังมีสภาพป่าดิบเขาที่อุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธารหลายสาย และมีน้ำตกสวยงามอีกหลายแห่ง เช่นน้ำตกธารมะยม น้ำตกคลองนนทรี น้ำตกคลองหนึ่ง น้ำตกคลองพลู น้ำตกคีรีเพชร ส่วนที่ราบเชิงเขาก็ยังมีสภาพเป็นป่าชายหาด ป่าชายเลน ป่าพรุ ปรากฏให้เห็นอยู่เกือบทั่วเกาะ ทางตะวันตกของเกาะช้างมีชายหาดและแนวปะการังที่สวยงามอยู่หลายแห่ง



                หาดทรายขาวที่มีหาดทรายขาวสะอาดสมชื่อ หาดคลองพร้าวมีชายหาดกว้างขวางร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าว หาดไก่แบ้มีจุดชมวิวที่สวยงาม หาดทรายยาวที่มีหาดทรายทอดยาว เล่นน้ำได้ สามารถเดินป่าชมจุดยุทธนาวีที่เกาะช้าง และชมทัศนียภาพตามหมู่เกาะใกล้เคียง เช่น เกาะเหลายา อ่าวสลักเพชร เกาะหวาย ที่หาดทรายยาวมีบริการที่พักไว้สำหรับนักท่องเที่ยวด้วย


                เกาะช้าง ไม่ได้มีแหล่งท่องเที่ยวอยู่บนเกาะเท่านั้น บรรดาหมู่เกาะใกล้เคียงก็มีแหล่งท่องเที่ยวให้เที่ยวชมอีกมาก เช่นที่เกาะง่าม เกาะช้างน้อย หมู่เกาะเหลายา ที่มีทั้งหาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการังสวย เกาะคลุ้ม เป็นเกาะประวัติศาสตร์จากยุทธนาวีที่เกาะช้างระหว่างไทยและฝรั่งเศส




                ด้วยความสมบูรณ์ของทรัพยากรการท่องเที่ยว ทำให้เกาะช้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของไทย