วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี   
                   การบริหารเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนและงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานดังนั้นจึงต้องใช้การปกครองอย่างมีศิลปะ เพื่อให้สามารถครองใจคนและได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพเกิดคุณภาพ ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์
ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ การดูแล การจูงใจจะต้องนำก่อนทำเป็นตัวอย่างตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ชื่นชมยินดี

ประเภทของผู้นำ         

           
ผู้นำแบบเผด็จการ เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาดในตัวเองถือเรื่องระเบียบวินัย กฏเกณฑ์ข้อบังคับเป็นหลัก
ในการดำเนินงานการตัดสินใจต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้นำแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในแง่การบริหารงานทางด้านวิชาการด้านธุรกิจจะเปรียบเสมือนกิจการที่เป็นเจ้าของบุคคลเดียว ที่มีการดำเนินการและตัดสินใจเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการเท่านั้น
             
 ผู้นำแบบประชาธิปไตย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในโลกปัจจุบัน ให้สิทธิ์ในการออกความคิดเห็น สิทธิในการเรียกร้อง รวมไปถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วยการเป็นประชาธิปไตยจึงเป็นลักษณะหนึ่งที่สังคมค่อนข้าง
จะยอมรับกันมากกว่าผู้นำประเภทอื่น ๆ
               
          
ผู้นำแบบตามสบาย เป็นผู้นำที่ไปเรื่อย ๆ มีความอ่อนไหวไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นผู้นำที่เป็นที่รักของผู้ร่วมงานอย่างมาก ผู้นำประเภทนี้จึงมีมากมายตามแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ บางครั้งอาจมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง หรือมองโลกในแง่ดีซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขยันอาจจะไม่ชอบลักษณะผู้นำประเภทนี้  ในทางปฏิบัติบางแห่งในตัวผู้นำอาจจะมีรูปแบบของการเป็นผู้นำทั้ง 2 ประเภทในคนเดียว อาจจะมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นออกมาแต่ละประเภท ซึ่งสามารถควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลักษณะการใช้อำนาจของผู้นำแตกต่างกันออกไป เพราะในตัวผู้นำแต่ละคนมีอำนาจมีอิทธิพล สามารถดำเนินการหรือสั่งการได้ตามความเหมาะสม
การใช้อำนาจของผู้บริหารแบ่งได้ดังนี้
             การใช้อำนาจเด็ดขาด อาจจะเป็นในวงการทหารหรือตำรวจ จะเห็นได้อย่างเด่นชัดซึ่งจำเป็นจะต้องมี
ความเด็ดขาดในการสั่งการ เพราะทหาร ตำรวจ จะต้องมีวินัยในการปกครองซึ่งกันและกัน บรรดาตำรวจที่มีอาวุธอยู่ในมือด้วยแล้ว หากขาดวินัยก็จะเสมือนกับกองโจรที่สามารถกระทำผิดได้ตลอดเวลา
                       
            การใช้อำนาจอย่างมีศิลปะ ผู้นำโดยทั่วไปเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความอดทนรวมไปถึงประสบการณ์ในการบังคับบัญชาคน หากการทำงานโดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วผลงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วไป 
           การใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ
เป็นลักษณะของการใช้อำนาจวิธีการหนึ่งซึ่งใช้กันอย่างมากมาย เพราะผู้บริหารที่เปิดใจกว้างย่อมได้รับการยอมรับของผู้ร่วมงานด้วยกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสอนงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในลักษณะการใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ
           การใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วม บางคนอาจจะบอกว่าการใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วมถือเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเนื่องจากผู้บริหารเปิดใจกว้าง ผลผลิตที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดแต่จะต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน ในทางทฤษฎีแล้ว การใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมรวมถึงลักษณะของการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ
หน้าที่ของผู้นำแบ่งออกได้ดังนี้
              1.  ลักษณะของการควบคุม คนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ใครมาควบคุม แต่ในทางปฏิบัติงานแล้ว การควบคุมอยู่ห่าง ๆ จะได้ผลดีตามมาในลักษณะของการติดตามผลงานอาจจะใช้การควบคุมด้วยระบบเอกสาร ระบบของงานที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันหรือเป็นการควบคุมในระบบด้วยตัวของมันเองอย่างอัตโนมัติ
             
2.  ลักษณะของการตรวจตรา เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวหรือผลการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขในเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ทันการ
             
3.  ลักษณะของการประสานงาน การประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการประสานงานในเรื่องตำแหน่งหน้าที่การงานถือว่าเป็นความจำเป็นและสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน
             
4.  ลักษณะของการวินิจฉัยสั่งการ การสั่งการของผู้นำถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะผู้นำที่ดีจะรู้จักการใช้คนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การวินิจฉัยสั่งการที่ดีนั้นจะต้องมีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที
             
5.  ลักษณะของการโน้มน้าวให้ทำงาน ผู้นำมีหน้าที่หลักอย่างหนึ่งคือการชักชวนให้สมาชิกมีความสนใจในการปฏิบัติงานหน้าที่การงานด้วยความตั้งใจ มีความซื่อสัตย์สุจริต และเต็มใจที่จะทำงานนั้น ๆ ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด
             
6.  ลักษณะของการประเมินผลงาน การพิจารณาความดีความชอบตลอดระยะเวลาการทำงานของพนักงานถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่ง เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีควรกระทำเป็นระยะ ๆ และสามารถแจ้งผลให้ผู้ที่ถูกประเมินได้ทราบเพื่อจะได้แก้ไขในโอกาสต่อไป หากสามารถประเมินผลงานได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลย่อมลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน
คุณสมบัติที่ดีของผู้นำ
               1.   
มีความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญานั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อมีสติปัญญาดีก็เกิด เป็นผู้มีสังคมดี คำว่าสังคมดีคือจะต้องมีลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีอารมณ์มั่นคงมีวุฒิภาวะ มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความสนใจและใช้กิจกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
               2.   เป็นผู้ที่มีแรงกระตุ้นภายใน คือมีจิตสำนึกเกิดขึ้นในตัวของผู้นำ เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจที่จะโน้มน้าวให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปรารถนาที่จะทำงานตรงนั้นให้เกิดความสำเร็จ   เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีผู้นำจะต้องตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเอง ของลูกน้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน มองโลกในแง่ดีในการที่จะทำให้กิจการต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ลักษณะของผู้นำที่จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด                 
             1.  ต้องเป็นนักเผด็จการ หมายถึงผู้บริหารสามารถจะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะมาด้วยปริมาณ ส่วนเรื่องคุณภาพที่จะดีในช่วงแรก ๆ หากผู้นำสามารถสอดส่องดูแลอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตก็อาจจะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย  
           
2.  ต้องเป็นนักพัฒนา
ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรงานใหม่ ๆ ตลอดเวลา
             
3.  ต้องเป็นนักบริหาร ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแม้กระทั่งในการวางนโยบายต่าง ๆ การทำงานโดยทั่วไปจึงเป็นไปในลักษณะประชาธิปไตย ผู้ร่วมงานจะต้องเป็นผู้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถตอบสนองการทำงานในระบบใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี    
             4.  ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตามไปโดยปริยาย  การบริหารงานในปัจจุบันนี้ผู้บริหารทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาวะการเป็นผู้นำเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะจะสามารถได้ใช้หรือพยายามชี้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานออกมาในการปฏิบัติงานให้มากที่สุด พึงระลึกไว้เสมอว่าพนักงานทุกคนมีความสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน เป็นผู้ที่ผลักดันให้งานทุกอย่างของกิจการนั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น การบริหารงานที่ดีจะต้องมีผู้บริหารที่มีภาวะ ความเป็นผู้นำและเก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งการดำเนินชีวิตไปพร้อม ๆ กัน
     

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

การสื่อสารในองค์กร
ความหมายของการสื่อสารในองค์กร

          การสื่อสารในองค์กร หมายถึง กระบวนการในการแลกเปลี่ยนข่าวสารของหน่วยงานกับบุคลากรทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งมีความสัมพันธ์กันภายใต้สภาพแวดล้อม บรรยากาศขององค์กรและสังคม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถาณการณ์
กระบวนการสื่อสาร
          การสื่อสารให้เป็นระบบแล้ว คงจะช่วยให้เข้าใจการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้กระบวนการสื่อสารประกอบด้วย
          - แหล่งข้อมูล คือ แหล่งที่มาของงข้อมูลข่าวสาร หรือเป็นต้นตอของแหล่งข้อมูลข่าวสารนั่นเอง
          - ข่าวสาร คือ เนื้อหาสาระที่ต้องส่งไป
          - ผู้ส่ง คือ บุคคลที่จะเป็นผู้ดำเนินการส่งข่าวสาร
          - ผู้รับ คือ ผู้เป็นเป้าหมายในการรับข่าวสาร ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการสื่อสาร
ประเภทของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในองค์กร
          สื่อหรือช่องทาง ใช้เพื่อให้ข่าวสารนั้นไหลหรือถูกพาไปยังผู้รับสาร พอจะแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
          - ประเภทการใช้ภาษา ได้แก่ การพูด คำพูด ซึ่งการใช้ภาษานับว่าเป็นการสื่อสารที่ใช้กันมาก
          - ประเภทไม่ใช้ภาษา ได้แก่ สัญาลักษณ์ การเขียนข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ เป็นต้น
          - ประเภทอาศัยการแสดง/พฤติกรรม
รูปแบบของการสื่อสาร  
          การสื่อสารโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว สามารถแยกรูปแบบออกได้ดังนี้
          - การสื่อสารภายในตัวบุคคล
          - การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
          - การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ แบบนี้ไม่มีให้เห็นมากนัก แต่ก็มีบางงานใช้
          - การสื่อสารภายในองค์กร
          - การสื่อสารมวลชน
ลักษณะการสื่อสารในองค์กร
          ลักษณะการสื่อสารในองค์กร โดยทั่ว ๆ ไปจะมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ
          - การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างพนักงานต่อพนักงาน หรือระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้น
          - การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร
          - การสื่อสารระหว่างองค์กร หมายถึง การติดต่อที่เกิดขึ้นระหว่างองค์กรต่อองค์กร
จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในองค์กร
            การสื่อสารในองค์กรที่เกิดขึ้นเพื่อการประสานงานและสร้างความเข้าใจต่อกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ฉะนั้น พอจะสรุปจุดมุ่งหมายได้ดังนี้
          - เพื่อการควบคุมการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น
          - เพื่อการให้ข้อมูลที่เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ
          - เพื่อการจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันทำงานในองค์กร
          - เพื่อการแสดงออกซึ่งความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อให้หัวหน้าหรือพนักงานด้วยกันมีความเข้าใจกัน
เทคนิคการสื่อสารในองค์กร
          เทคนิคในการสื่อสาร จะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
          - เทคนิคการสื่อสารจากระดับบนสู่ล่าง ได้แก่ การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาลงสู่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
          - เทคนิคการสื่อสารจากระดับล่างสู่บน ได้แก่ การศึกษาจากผู้ใต้บังคับบัญชา ติดต่อขึ้นตามคำสั่ง ตามลำดับขั้น จนถึงผู้บังคับบัญชา
          - เทคนิคการสื่อสารระดับเดียวกัน เช่น ระหว่างเพื่อนร่วมงาน บุคคลในระดับเดียวกัน
รูปแบบของเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร     
          ในการจัดเครือข่ายการสื่อสาร เพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารกัน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
          - แบบลูกโซ่ (chain) เป็นเครือข่ายที่พบความผิดพลาดอยู่เสมอ
          - แบบวงล้อหรือดาว (wheel or star) เป็นเครือข่ายของการประสานงานแบบเผด็จการ
          - แบบวงกลม (circle) เป็นการติดต่อข่าวสารกันแบบต่อเนื่องกัน ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้ต่ำ
          - แบบว่าว (kite) เป็นการติดต่อที่ผสมผสานกันทั้งแบบลูกโซ่และแบบวงล้อ
          - แบบทุกช่องทาง (all channel) เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีการประสารกันได้ทุกจุด ทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด    
หลักสำคัญในการติดต่อสื่อสารที่ดี 
          เพื่อให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ทำให้ผู้ส่งและผู้รับมีข่าวสารตรงกันและรวดเร็ว จึงสมควรยึดหลัก 7 C คือ
            
1. ความเชื่อถือได้
             2. ความเหมาะสม
             3. มีเนื้อหาสาระ
             4. ความสม่ำเสมอและความต่อเนื่อง
             5. ช่องทางข่าวสาร
             6. ความสามารถของผู้รับสาร
             7. ความชัดเจนแจ่มแจ้งของข่าวสาร
             ฉะนั้น จากหลักการ 7 C นี้คงจะช่วยให้การจัดระบบติดต่อสื่อสาร เกิดผลของการสื่อสารที่ดีเกิดขึ้นในองค์กรได้ ซึ่งหากมีการติดต่อสื่อสารที่ดี ย่อมส่งผลให้เกิดการจัดการบริหารงานที่ดีไปด้วย
มนุษย์สัมพันธ์กับการสื่อสารในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ 
           การสื่อสารให้เกิดความรวดเร้วและเที่ยงตรง ในยุคปัจจุบันในบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ กำลังพัฒนาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร มีความก้าวหน้ารวดเร็วทันสมัยทั้งนี้ก็เพื่อให้สิ่งนี้มาช่วยพัฒนางานหากระบบการสื่อสารในองค์กรมีประสิทธิภายังช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีให้เกิดในหมู่คณะพนักงานและผู้บริหารด้วย ดังนั้น การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถสรุปได้ ดังนี้ 
                1. รู้กระบวนการและขั้นตอนการสื่อสาร บุคคลในสถานทีประกอบการต้องรู้กระบวนการและขั้นตอนเพื่อการสื่อสาร ดังนี้
                           - ความตั้งใจที่จะสื่อสาร
                           - มีความเข้าใจในสาระการสื่อสาร
                           - มีการยอมรับในข่าวสาร
                           - ปฏิบัติตามข่าวสาร
             2. ใช้สื่อและภาษาธรรมดา
             3. ต้องพยายามเข้าใจธรรมชาติของผู้ส่งและผู้รับการสื่อสาร
             4. ต้องพยายามเข้าใจกิริยาท่าทาง
             5. การพัฒนาประสิทธิภาพการฟังที่ดี
             6. สื่อและเครื่องมือในการสื่อสารต้องดีและเอื้ออำนวย
             7. ควรมีการวางแผนและเตรียมตัวที่ดี
ลักษณะของการสั่งการที่ดี 
             การสั่งการที่ดีต้องเป็นคำสั่งที่สามารถปฏิบัติได้ ผู้รับคำสั่งจะต้องมีอำนาจ เวลา และอุปกรณ์ในการดำเนินงานเพียงพอที่จะปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ดังนั้น การสั่งการที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
                1. เป็นเรื่องที่ผู้รับคำสั่งสนใจ เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่โดยตรง
                2. คำสั่งต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
                3. คำสั่งต้องเหมาะสม ชัดเจน เข้าใจง่าย และสามารถปฏิบัติได้
                4. คำสั่งต้องแน่นอน ควรเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันความผิดพลาด
ความหมายของการควบคุมงาน
          การควบคุม หมายถึง การตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้และได้มาตราฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ แล้วแนะนำการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแนและมาตราฐานที่กำหนดไว้
ความมุ่งหมายของการปฏิบัติงาน
             1. เพื่อตรวจสอบดูว่างานที่ได้รับมอบหมายไปปฏิบัติดำเนินไปตามแผนงานและมาตราฐานที่กำหนดไว้หรือไม่
             2. เพื่อตรวจสอบวิธีปฏิบัติงานว่าดำเนินไปตามหลักการที่ดีหรือไม่เพียงใด
             3. เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของงานว่าดีเพียงใด
             4. เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานว่ามีอุปสรรคหรือปัญหาประการใด เมื่อใด เพียงใด
             5. เพื่อแนะนำปรับปรุงแก้ไข เมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา
อ้างอิง
     นางสาวนงคราญ  ดงเย็น  นางสาวสุพัตรา ยศตื้อ  นางสาวแสงอรุณ สันวงค์. การสื่อสารในองค์กร.
     ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2553. จากเว็บไซต์
http://comschool.site40.net/s8.html
     
             
    

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
หลักการบริหารการศึกษา
ชื่อบทความ              
การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคจำปา  5  กลีบ
ชื่อผู้เขียนบทความ 
ทิพวรรณ   เสนจันทร์ฒิชัย
ปีที่ 
13  ฉบับที่  3  กรกฎาคม – กันยายน  2553
สรุปสาระสำคัญของบทความ
               
การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคจำปา  5 
กลีบ  เกิดจากปัญหาในด้านการเรียนการสอน  ด้านผลสัมฤทธิ์  และด้านพฤติกรรมของนักเรียน โดยอาศัยสัญลักษณ์ของโรงเรียนเป็นจุดเด่นของแนวคิด  ก็คือ 
ดอกจำปาขาวจึงเป็นเทคนิคหรือวิธีการของโรงเรียนท่าจำปาวิทยาที่นำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยให้ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 
และพัฒนาการเรียนการสอนในทุก ๆ ด้าน  เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน  โดยใช้กิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือ 
5  โครงการ  ได้แก่  1)  พัฒนาแหล่งเรียนรู้  2)  เชิดชูคุณธรรม  3)  กิจกรรมโครงงาน  4)  ประสานชุมชน  5)  มุ่งผลความเป็นเลิศ 
               นวัตกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคจำปา 
5  กลีบ  มีสาเหตุมาจากครูขาดความสามารถ
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  จำนวนครูไม่เพียงพอ  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเพราะขาดการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน  ขาดการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์  ผู้บริหารไม่ค่อยให้ความสนใจในการส่งเสริมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้ปกครองไม่มีเวลา
เอาใจใส่การเรียนของบุตรหลาน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยังคิดว่าการบริหารจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา  จากปัญหาต่าง ๆ  เหล่านี้ผู้อำนวยการสถานศึกษาจึงได้คิดเทคนิควิธีการที่จะนำมาใช้พัฒนา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยใช้แนวคิด  ทฤษฎีต่าง ๆ  มาประยุกต์เป็นเทคนิค  วิธีการ  เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา  จำนวน 
5 
กลุ่ม  ได้แก่  ผู้ปกครอง  นักเรียน  ครู  รรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และผู้บริหารสถานศึกษา  ยังขาดการประสานสัมพันธ์กัน  และมองไม่เห็นคุณค่าความสำคัญในบทบาทของตนเอง  เช่นเดียวกับความรู้สึกของคนไทยในสมัยก่อนที่มีความรู้สึกต่อดอกจำปาหรือดอกจำปาขาว  ในแง่ของความไม่เป็นมงคล  แต่ในปัจจุบันความคิด
ได้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น  เปรียบกับดอกจำปาขาวที่แต่ละดอกเกิดจากการรวมตัวกันของกลีบดอกจำนวน 
5  กลีบ  เปรียบเทียบกับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้ง  5  กลุ่ม  เปรียบสมือนกลีบดอกทั้ง  5  มาร้อยเรียประสานกันเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงของการพัฒนาการเรียนการสอน  โดยร่วมมือจากทุกภาคส่วน  ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้เป็นอย่างดี  โรงเรียนจึงกำหนดวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการะบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และเพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนสูงขึ้น  มีคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยมอันพึงประสงค์  และรักการแสวงหาความรู้
                กระบวนการพัฒนานวัตกรรม  นำหลักการพัฒนาคุณภาพ  (
PDCA)  โดยเริ่มจาก
               
1.  ขั้นวางแผน (Plan)  โดยการเชิญชวนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  ผู้ปกครอง  ชุมชน  ครู  กรรมการสถานศึกษา  มาร่วมกันคิด  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์ของโรงเรียนร่วมกัน
              
2.  ขั้นดำเนินการ  (Do)  ปะชุมชี้แจงแนวทางและทำความเข้าใจกับครูผู้สอนถึงวิธีการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
              
3.  ขั้นติดตามประเมินผลเพื่อตรวจสอบการนำนวัตกรรมไปใช้  (Check) 
              
4.  นำผลมาปรับปรุง  แก้ไขหรือพัฒนา  (Action)
                การใช้นวัตกรรมโดยใช้เทคนิคดอกจำปา 
5  กลีบ  เป็นการพัฒนาทักษะการพูด  การเขียน  การคิดวิเคราะห์  และรู้จักค้นหาคำตอบ  เช่น  การแข่งขันทักษะด้านการพูด  การเขียนบทความหรือเรียงความ  การสอนโดยใช้โครงงานบูรณาการ  การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  การเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต   จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน  ผลการใช้นวัตกกรรมพบว่า 
ผู้ปกครองนิยมชมชอบต่อโรงเรียนเพราะบุตรหลานมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เป็นคนดี  มีคุณธรรม  จริยธรรม  เป็นคนเก่ง  รักการเรียนรู้  มีสุขภาพกาย  สุขภาพจิตที่ดี  อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานรู้จักและเข้าใจในบทบาทหน้าที่  ครูมีความเข้าใจในบทบาทของตนเองเห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเองและพัฒนาการเรียนการสอน  จนทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จด้านวิชาการ  คุณธรรมจริยธรรม  และด้านกีฬา  ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกลขึ้น  สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
ความคิดเห็นต่อบทความ
                เป็นบทความที่อธิบายถึงบทบาทและแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา  ในการให้
ผู้ปกครอง  นักเรียน  ครู  รรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ชุมชน  มีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัด                 การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา   ถ้าผู้บริหารคนใด มีความแนวคิดใหม่ ๆ  ก็จะทำให้บริหารงานประสบความสำเร็จ
การนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน
               
จากบทความการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคจำปา  5  กลีบ  สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตนี้  แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้คือ  นำเอาองค์ความรู้นี้ไปวิเคราะห์ว่ามีประเด็นใดที่สามารถดำเนินการได้  และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  เช่น  ผู้ปกครอง  นักเรียน  ครู  รรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และผู้บริหารสถานศึกษา ได้เข้ามามีบทบาท  มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ  มาร่วมกันคิด  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์ของโรงเรียนร่วมกัน  และศึกษาหลักสูตร  เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน  นอกจากนี้ครูผู้สอนต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  พัฒนาตนเอง  เข้ารับการอบรม  สัมมนา  ศึกษาดูงานโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้  มีการวิเคราะห์หลักสูตร  การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  การผลิตและการใช้สื่อนวัตกรรม  การวัดผลประเมินผลผู้เรียน
เป็นรายบุคคล  การนิเทศ  การจัดทำวิจัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ  และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการพูด  การเขียน  การคิดวิเคราะห์  และรู้จักการค้นหาคำตอบ  การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต  ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ  มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น  เป็นคนดี 
คนเก่ง  มีคุณธรรมจริยธรรม  อยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข  ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพต่อไป 
บทความเกี่ยวกับการบริหารศึกษา
หลักการบริหารการศึกษา
ชื่อบทความ     ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคต
ชื่อผู้เขียนบทความ    รศ. ดร.อุทัย  บุญประเสริฐ
ปีที่ 1 ฉบับที่  1  มกราคม - มิถุนายน 2549

สรุปสาระสำคัญของบทความ
ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่ผู้นำหรือู้ที่มีภาวะผู้นำ เป็นผู้ที่ชักนำ จูงใจ ชี้นำ ใช้อิทธิพลหรืออำนาจที่มีอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้หรือกระตุ้นให้หรือชี้นำให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาให้ยินดี เต็มใจ พร้อมใจ ยินดีในการกระทำการ ให้มีความกระตือรือร้นหรือร่วมดำเนินการอย่าใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้นำต้องการหรือตามที่ผู้นำต้องการให้มีพฤติกรรมไปในทิศทางที่เขาชักนำในการทำงานหรือดำเนินกิจกรรมที่ผู้นำนั้นรับผิดชอบหรือตามที่ผู้นำนั้นต้องการ ซึ่งสิ่งที่ผู้นำในโรงเรียนในอนาคต ควรมีเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาภาวะผู้นำ อย่างน้อยน่าจะประกอบด้วยสิ่งสำคัญเหล่านี้ 1) ความสามารถเชิงวิสัยทัศน์ การวางแผนและการกำหนดเป้าหมายขององค์การ 2) ความสามารถในการทำงานแบบมีส่วนร่วม  3) ความสามารถในการสื่อสารแบบมีประสิทธิผล 4) ความสามารถในกาสร้างทีมงาน  5) ความสามารถในการดำเนินกระบวนการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม 6) ความสามารถในการจัดการกับปัญหา  7) ความสามารถในเรื่องการสร้างสรรค์นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์และการริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงองค์การ

ความคิดเห็นต่อบทความ
                เป็นบทความที่อธิบายถึงบทบาทและแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตที่ควรนำมาพิจารณา ในการบริหารงานในสถานศึกษา ว่ามีความสามารถในแต่ละด้านแล้วหรือยัง ซึ่งความสามารถเหล่านั้นเป็นความสามารถที่ ถ้าผู้บริหารคนใดมีมากก็จะทำให้บริหารงานในหน่วยงานของตนได้ดี

การนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน
                จากบทความภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตนี้ แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้คือ นำเอาองค์ความรู้นี้ไปวิเคราะห์ว่ามีประเด็นใดที่สมารถจะดำเนินการได้ก่อน-หลังตามลำดับและนำไปส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษามีความสามารถในแต่ละด้านที่กล่าวถึง เพราะการเป็นผู้นำนั้นไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่เป็นผู้บริการสถานศึกษาเท่านั้น แต่บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาจะต้องมีความรู้และความสามารถดังกล่าวด้วย เพราะในบางสถานการณ์ก็ต้องเป็นผู้นำในบางเรื่องเช่นเดียวกัน ตามทฤษฎีการบริหารตามสถานการณ์ เพื่อการทำงานที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพต่อไป

  

     

การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
               การบริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts)
การบริหารเป็นอาชีพ
              วิโรจน์  สารรัตนะ  ได้กล่าวว่า
                                  
-          เกิดจากองค์ความรู้ที่เป็นระบบ พัฒนาทางปัญญาอยู่เสมอ
                                 
-          เปลี่นแปลง  คิดค้นความคิดใหม่
                                 
-          เน้นการให้บริการผู้อื่น
                         -          มีมาตรฐานทางอาชีพที่ถูกกำหนดขึ้น สมาคมทางอาชีพนั้น
ปัจจัยการบริหาร
             
ปัจจัยพื้นฐานทางการบริหารมี 4  อย่าง ที่เรียกว่า  4 Ms  ได้แก่
                             
1.       คน (Man)
                             
2.       เงิน (Money)
                             
3.       วัสดุสิ่งของ(Materials)
                             
4.       การจัดการ (Management)
ข้อจำกัดทางการบริหาร
                             
1.       สถานภาพทางภูมิศาสตร์
                             
2.       ประชากร
                             
3.       ทรัพยากร
                             
4.       ลักษณะนิสัย และความสามารถของคนในชาติ
                             
5.       ความเชื่อถือและความศรัทธา
                             
6.       ขนบธรรมเนียมและประเพณี
                             
7.       ค่านิยมและอุดมการณ์ทางสังคม
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหาร
             
ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซทของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎทั่วไปและชี้แนะการวิจัย
ประโยชน์ของทฤษฎี
              1.       ทำให้เกิดความรู้ ความคิดใหม่ ๆ เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาการ คือถ้ามีทฤษฎีก็มีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อทดสอบหรือพิสูจน์ทฤษฎีอื่น
             
2.       สามารถใช้ประกอบการทำนายเหตุการณ์ พฤติกรรม และใช้แก้ไขปัญหาได้
             
3.       ทฤษฎีจะช่วยขยายประสิทธิภาพของการทำงาน กล่าวคือ ผู้บริหารที่รู้ทฤษฎีจะมีทางเลือก และเลือกทางที่เหมาะสมได้
             
4.       ทฤษฎีเป็นหลักยึดในการปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ที่ทำงานแนวคิดหรือทฤษฎีก็จะเกิดความมั่นใจในการทำงานมากกว่าทำไป อย่างเลื่อนลอย ทฤษฎีจะช่วยชี้แนะนำการปฏิบัติ
ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ
             
ในการบริหารการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติ ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดกรอบ สำหรับผู้ปฏิบัติ และเป็นตัวกำหนดความรู้เพื่อช่วยให้การตัดสินใจกระทำไปอย่างมีเหตุผลและสามารถปฏิบัติได้จริงก็ตาม การปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของวิธีการได้ไตร่ตรองแล้วเท่านั้นจึงจะเป็นการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับทฤษฎีและวิจัยไม่ใช่เป็นการปฏิบัติที่เกิด จากการหยั่งรู้อคติ ความศรัทธาหรืออำนาจหน้าที่ นักทฤษฎีและนักวิจัย จะใช้วิธีการเชิงวิจัย จะใช้วิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวดกว่า นักปฏิบัติ เพื่อความมีเหตุผล ส่วนนักปฏิบัติจะถูกบังคับโดยตำแหน่ง ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ถึงแม้จะไม่ใช่วิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ ครบทุกขั้นตอน แต่ก็ยังถูกบังคับให้ปรับรับวิธีการให้เหมาะสม โดยมีการยืดหยุ่นได้มากขึ้น
              ทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดทิศทางสำหรับการวิจัย และการชี้แนะที่มีเหตุผลต่อการปฏิบัติ ทฤษฎีจะถูกทดสอบขัดเกลาโดยการวิจัย เมื่อทฤษฎีผ่านการวิจัยแล้ว จึงนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติ ไม่มีการปฎิบัติใด ๆ ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี ในเมื่อทฤษฎี อยู่บนพื้นฐานของตรรกวิทยามีเหตุผลมแม่นยำถูกต้องแล้ว การปฏิบัติก็จะมีเหตุผลและถูกต้องเช่นเดียวกัน การปฏิบัติจึงสร้างมาให้เห็น ทฤษฎีเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องศึกษาทฤษฎี การศึกษาทฤษฎีก็เพราะจะให้การปฏิบัติได้ผลจริง

การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingencey Theory )
             
การบริหารในยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมอง การบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ
แนวความคิด
             
เนื่องจากปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ การเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด There is one best way สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะใช้การบริการบริหารแบบใด การบริหารในยุคนี้มุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ และเป็นส่วนขยายของทฤษฎีระบบว่า ทุก ๆ ส่วนจะต้องสัมพันธ์กัน สถาการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึง หลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ  
หลักการของการบริหารโดยสถานการณ์
             
1.       ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
             
2.       ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
             
3.       เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้อง สัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
             
4.       สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
             
5.       คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
             
6.       เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
                             
o        ความแตกต่างระหว่างบุคคล
                             
o        ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน เป็นต้น    
                            
o        ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร 
                             
o        ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
              นักบริหารที่เป็นผู้เสนอแนวความคิดทางการบริหารนี้ คือ Fred E.Fiedler (1967)

ทฤษฎีระบบ
              การเอาแนวความคิดเชิงระบบเข้ามาใช้ในการบริหา ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าในปัจจุบันองค์กรการขยายตัวสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงเป็นการยากที่พิจารณาถึงพฤติกรรมขององค์กรได้หมดทุกแง่ทุกมุม นักทฤษฎีบริหารสมัยใหม่ จึงหันมาสนใจการศึกษาพฤติกรรมขององค์การ เพราะคนเป็นส่วนหนึ่งของระบบองค์การ องค์การเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม
ความหมาย
                    
ระบบในเชิงบริหารหมายถึงองค์กรประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันและมีส่วนกระทบต่อปัจจัยระหว่างกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
 
องค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีระบบ   ได้แก่
             
1.       ปัจจัยการนำเข้า Input
             
2.       กระบวนการ Process
             
3.       ผลผลิต Output
             
4.       ผลกระทบ Impact
              วิธีการระบบเป็นวิธีการที่ใช้หลักตรรกศาสตร์วิทยาศาสตร์อย่างมีเหตุผล และมีความสัมพันธ์กันไปตามขั้นตอนช่วยให้กระบวนการทั้งหลายดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและสามารถช่วยให้การบริหารบรรลุวัตถประสงค์ไปด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องและไม่ลำเอียง
 
ทฤษฎีบริหารของ McGreger ทฤษฎี X(The Traditioal View of Direction and Control)
ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานที่ว่า
             
1.       คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
             
2.       คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
             
3.       คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
             
4.       คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
             
5.       คนมักโง่ และหลอกง่าย
ทฤษฎีThe integration of Individual and Organization Goal)
ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานที่ว่า
             
1.       คนจะไม่ให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
             
2.       คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
             
3.       คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
             
4.       คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองมากขึ้น วิธีการบริหารตามแนวนึ้ จะเป็นการรวบรวมบุคคลและเป้าหมายโครงการเข้าไว้ด้วยกัน การจูงใจต้องใช้วิธีการจูงใจในระดับสูง

ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchl) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (Iof California t Los Angeles)ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ ทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
             
1.       การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
             
2.       การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
             
3.       การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
             
4.       การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ทฤษฎีนี้ใช้หลักการ 3 ประการ คือ
             
1.       คนในองค์กรต้องซื่อสัตย์ต่อกัน
             
2.       คนในองค์การต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
             
3.       คนในองค์การต้องมีความใกล้ชิดเป็นกันเอง
หลักการบริหารที่มีประสิทธิภาพ (Edgar L Morphet )
             
1.       การบริหารที่มีผู้บริหารเพียงคนเดียวในองค์การ (Division Of Labor)
             
2.       มีการกำหนดมาตรฐานทำงานที่ชัดเจน (Srandardization)
             
3.       มีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Untity of command)
             
4.       มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงาน (Delegation of Authority and Responsibility)
             
5.       มีการแบ่งฝ่ายงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงานให้เฉพาะเจาะจงขึ้น (Division of Labor)
             
6.       มีการกำหนดมาตรฐานการทำงาน ที่ชัดเจน (Span of control)
             
7.       มีการมอบหมายการควบคุมดูแลที่เหมาะสม (Stability)
             
8.       เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในองค์การได้ (Flexibility)
             
9.       สามารถทำให้คนในองค์การเกิดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย (Security)
             
10.   มีการยอมรับนโยบายส่วนบุคคลที่มีความสามารถ (Personnel Policy)
             
11.   มีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งส่วนบุคคลและองค์การ (Evaluation)
บทบาทและสมรรถภาพของผู้บริหาร (Spepgen J . Knezevich แห่ง USC. 1984 )              
             
1.       เป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหาร (Direction Setter ) เช่น รู้เทคนิคต่าง ๆ ของการบริหาร PPBS .MBO QCC เป็นต้น
             
2.       มีความสามารถกระตุ้นคน (Leader Catalyst)
             
3.       ต้องเป็นนักวางแผน (Planner)
             
4.       ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decision Maker)
             
5.       ต้องมีความสามารถในการจัดองค์การ (Oraganizer)
             
6.       ต้องเป็นผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (Change Manager)
             
7.       ต้องเป็นผู้ให้ความร่วมมือ (Coordinator)
             
8.       ต้องเป็นผู้ติดต่อสื่อสารที่ดี(Communicatior)
             
9.       ต้องเป็นผู้แก้ปัญหาขัดแย้งในองค์การได้ (Conflict Manager)
             
10.   ต้องสามารถบริหารปัญหาต่าง ๆ ได้(Preblem Manager)
             
11.   ต้องรู้จักวิเคราะห์และจัดระบบงาน (System Manager)
             
12.   ต้องมีความสามารถในด้านวิชาการทั้งการเรียนและการสอน (Instructional Manager)
             
13.   ต้องมีความสามรถในการบริหารบุคคล (Personnel Managr)
             
14.   ต้องมีความสามารถในการบริหารทรัพยากร (Resource Manager)
             
15.   ต้องมีความสามารถในการประเมินผลงาน (Appraiser)
             
16.   ต้องมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ (Public Relator)
             
17.   ต้องสามารถเป็นผู้นำในสังคมได้ (Ceremonial Head)
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
             
ความหมาย การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ