วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
หลักการบริหารการศึกษา
ชื่อบทความ              
การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคจำปา  5  กลีบ
ชื่อผู้เขียนบทความ 
ทิพวรรณ   เสนจันทร์ฒิชัย
ปีที่ 
13  ฉบับที่  3  กรกฎาคม – กันยายน  2553
สรุปสาระสำคัญของบทความ
               
การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคจำปา  5 
กลีบ  เกิดจากปัญหาในด้านการเรียนการสอน  ด้านผลสัมฤทธิ์  และด้านพฤติกรรมของนักเรียน โดยอาศัยสัญลักษณ์ของโรงเรียนเป็นจุดเด่นของแนวคิด  ก็คือ 
ดอกจำปาขาวจึงเป็นเทคนิคหรือวิธีการของโรงเรียนท่าจำปาวิทยาที่นำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยให้ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 
และพัฒนาการเรียนการสอนในทุก ๆ ด้าน  เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน  โดยใช้กิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือ 
5  โครงการ  ได้แก่  1)  พัฒนาแหล่งเรียนรู้  2)  เชิดชูคุณธรรม  3)  กิจกรรมโครงงาน  4)  ประสานชุมชน  5)  มุ่งผลความเป็นเลิศ 
               นวัตกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคจำปา 
5  กลีบ  มีสาเหตุมาจากครูขาดความสามารถ
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  จำนวนครูไม่เพียงพอ  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเพราะขาดการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน  ขาดการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์  ผู้บริหารไม่ค่อยให้ความสนใจในการส่งเสริมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้ปกครองไม่มีเวลา
เอาใจใส่การเรียนของบุตรหลาน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยังคิดว่าการบริหารจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา  จากปัญหาต่าง ๆ  เหล่านี้ผู้อำนวยการสถานศึกษาจึงได้คิดเทคนิควิธีการที่จะนำมาใช้พัฒนา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยใช้แนวคิด  ทฤษฎีต่าง ๆ  มาประยุกต์เป็นเทคนิค  วิธีการ  เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา  จำนวน 
5 
กลุ่ม  ได้แก่  ผู้ปกครอง  นักเรียน  ครู  รรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และผู้บริหารสถานศึกษา  ยังขาดการประสานสัมพันธ์กัน  และมองไม่เห็นคุณค่าความสำคัญในบทบาทของตนเอง  เช่นเดียวกับความรู้สึกของคนไทยในสมัยก่อนที่มีความรู้สึกต่อดอกจำปาหรือดอกจำปาขาว  ในแง่ของความไม่เป็นมงคล  แต่ในปัจจุบันความคิด
ได้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น  เปรียบกับดอกจำปาขาวที่แต่ละดอกเกิดจากการรวมตัวกันของกลีบดอกจำนวน 
5  กลีบ  เปรียบเทียบกับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้ง  5  กลุ่ม  เปรียบสมือนกลีบดอกทั้ง  5  มาร้อยเรียประสานกันเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงของการพัฒนาการเรียนการสอน  โดยร่วมมือจากทุกภาคส่วน  ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้เป็นอย่างดี  โรงเรียนจึงกำหนดวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการะบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และเพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนสูงขึ้น  มีคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยมอันพึงประสงค์  และรักการแสวงหาความรู้
                กระบวนการพัฒนานวัตกรรม  นำหลักการพัฒนาคุณภาพ  (
PDCA)  โดยเริ่มจาก
               
1.  ขั้นวางแผน (Plan)  โดยการเชิญชวนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  ผู้ปกครอง  ชุมชน  ครู  กรรมการสถานศึกษา  มาร่วมกันคิด  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์ของโรงเรียนร่วมกัน
              
2.  ขั้นดำเนินการ  (Do)  ปะชุมชี้แจงแนวทางและทำความเข้าใจกับครูผู้สอนถึงวิธีการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
              
3.  ขั้นติดตามประเมินผลเพื่อตรวจสอบการนำนวัตกรรมไปใช้  (Check) 
              
4.  นำผลมาปรับปรุง  แก้ไขหรือพัฒนา  (Action)
                การใช้นวัตกรรมโดยใช้เทคนิคดอกจำปา 
5  กลีบ  เป็นการพัฒนาทักษะการพูด  การเขียน  การคิดวิเคราะห์  และรู้จักค้นหาคำตอบ  เช่น  การแข่งขันทักษะด้านการพูด  การเขียนบทความหรือเรียงความ  การสอนโดยใช้โครงงานบูรณาการ  การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  การเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต   จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน  ผลการใช้นวัตกกรรมพบว่า 
ผู้ปกครองนิยมชมชอบต่อโรงเรียนเพราะบุตรหลานมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เป็นคนดี  มีคุณธรรม  จริยธรรม  เป็นคนเก่ง  รักการเรียนรู้  มีสุขภาพกาย  สุขภาพจิตที่ดี  อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานรู้จักและเข้าใจในบทบาทหน้าที่  ครูมีความเข้าใจในบทบาทของตนเองเห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเองและพัฒนาการเรียนการสอน  จนทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จด้านวิชาการ  คุณธรรมจริยธรรม  และด้านกีฬา  ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกลขึ้น  สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
ความคิดเห็นต่อบทความ
                เป็นบทความที่อธิบายถึงบทบาทและแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา  ในการให้
ผู้ปกครอง  นักเรียน  ครู  รรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ชุมชน  มีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัด                 การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา   ถ้าผู้บริหารคนใด มีความแนวคิดใหม่ ๆ  ก็จะทำให้บริหารงานประสบความสำเร็จ
การนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน
               
จากบทความการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคจำปา  5  กลีบ  สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตนี้  แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้คือ  นำเอาองค์ความรู้นี้ไปวิเคราะห์ว่ามีประเด็นใดที่สามารถดำเนินการได้  และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  เช่น  ผู้ปกครอง  นักเรียน  ครู  รรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และผู้บริหารสถานศึกษา ได้เข้ามามีบทบาท  มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ  มาร่วมกันคิด  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์ของโรงเรียนร่วมกัน  และศึกษาหลักสูตร  เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน  นอกจากนี้ครูผู้สอนต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  พัฒนาตนเอง  เข้ารับการอบรม  สัมมนา  ศึกษาดูงานโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้  มีการวิเคราะห์หลักสูตร  การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  การผลิตและการใช้สื่อนวัตกรรม  การวัดผลประเมินผลผู้เรียน
เป็นรายบุคคล  การนิเทศ  การจัดทำวิจัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ  และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการพูด  การเขียน  การคิดวิเคราะห์  และรู้จักการค้นหาคำตอบ  การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต  ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ  มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น  เป็นคนดี 
คนเก่ง  มีคุณธรรมจริยธรรม  อยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข  ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น