วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554


มนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา

หลักการครองตน
1. การรู้จักตนเองด้วยความมีสติ และสัมปชัญญะ มีความละอายและเกรงกลัวต่อ บาปกรรม หรือสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งปวง ไม่กระทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่เปิดเผย
2. มีความอดทนและความสงบเสงี่ยม ให้เกียรติและมีความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์กับบุคคลทุกระดับชั้น
3.  บอกตนได้ ใช้ตนเป็น เห็นตนเอง
4.  รู้จักยึดมั่นในความพอเพียง ประหยัด และออม
5. รู้จักการถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่อวดเก่ง อวดดี ไม่อาศัยบารมีคนอื่นทำร้ายข่มเหงใคร
6.  มีความสำนึกในคุณงามความดีของตนเองและผู้อื่น 
ข้อควรคำนึงในการครองตนของผู้บริหาร
1.     การกระทำพูดดังกว่าคำพูด
2.    จงระวังตัวท่านเองให้มากกว่าระวังผู้อื่น
3.    ความสันโดษ ดีกว่าความร่ำรวย
4.     การไม่ทำอะไรเลยคือการทำความชั่ว
5.    ยิ่งรีบ  ยิ่งช้า
6.    ถ้าท่านหัวเราะ โลกจะหัวเราะกับท่าน   ถ้าท่านร้องให้  ท่านจะร้องให้คนเดียว
7.     สอนตนเอง  ก่อนที่จะสอนผู้อื่น
8.    ความประพฤติเท่านั้น ที่ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์
9.     จะทำอะไร  ทำให้สุดฝีมือ
10.    คิดแล้วไม่ทำ  ดีกว่าทำแล้วไม่คิด
11.    ทำเดี๋ยวนี้ดีกว่า
12.    ถ้าเราคิดจะพัฒนาตนเอง  ก่อนอื่นเราต้องรู้จักตนเอง ซึ่งไม่ค่อยมีใครรู้จัก  เพราะมันอยู่ใกล้เกินไป
13.    ขวาน  สามารถถากได้สารพัด  ยกเว้นด้ามของมันเอง  มันถากไม่ได้และไม่เคยถาก
14.    อย่าพยายามทำคนอื่นให้เหมือนใจเรา  เพราะเราก็ทำให้เหมือนใจคนอื่นไม่ได้
15.    ถ้าต้องการเป็นอิสระ  ต้องพยายามชนะตนเอง
16.    มีมิตรดีเพียงหนึ่งถึงจะน้อยดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา  มีเกลือเพียงเล็กน้อยด้อยราคายังดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล
17.     ถ้าไม่รู้จักตนเอง  ก็เหมือนไม่รู้จักอะไรทั้งนั้น
18.    อยู่ให้เขารัก  จากให้เขาเสียดาย  ตายให้เขาคิดถึง
19.    ความเกียจคร้าน  เป็นหลุมฝังศพของคนเป็น
20.    คนพูดเก่ง  มักเก่งแต่พูด
21.    คำพูดที่ออกจากปากไปแล้ว  นำกลับมาเข้าปากอีกไม่ได้
22.    คำพูดที่มีน้ำหนักมาก  ไม่จำเป็นต้องเป็นคำพูดที่มีจำนวนมาก
23.    พูดปดคำเดียว  ทำลายความจริงเป็นหมื่นๆ คำ
24.    การใช้อำนาจ  สำคัญกว่าการมีอำนาจ
25.    อำนาจ  ทำความพินาศให้แก่คนเหลิงอำนาจ
26.    การได้อำนาจมาใช้ความสามารถเพียงครั้งเดียว  แต่การรักษาอำนาจ  ท่านต้องใช้ความสามารถตลอดไป 
ข้อคิดในการครองตน
            คนลืมตัว  วัวลืมตีน  ได้ยินนัก            มียศศักดิ์  สักนิด  มักคิดชั่ว
นึกว่าข้า   ยิ่งใหญ่   กว่าควายวัว                     จึงลืมตัว  เหมือนวัว  ที่ลืมตีน 
หลักการและเทคนิคในการครองคน
           
 การครองคน คือ การรู้จักคนอื่น มองคนอื่นในแง่ดี ในการทำงานร่วมกับคนอื่น การครองคนเป็นเรื่องที่ถือว่ายากที่สุด เพราะคนเรา มีหลายประเภท หรือดอกบัวสี่เหล่า
            ผู้บริหารที่ฉลาด  ย่อมรู้ธรรมชาติของคน  ว่าคนในวัยใด  ลักษณะใด  มีความสนใจ และความสามารถในการทำงานแบบใด  คนในลักษณะใด ต้องประคับประคองในการทำงาน  จึงจะได้ผล  คนอีกลักษณะใด ต้องเคี่ยวเข็ญ  บังคับ  กวดขัน  ลักษณะใดจะต้องแสดงเหตุผล ผิดชอบชั่วดีให้เห็นก่อน เพื่อชักนำให้ทำ  แต่ไม่ว่าจะบริหารคนในลักษณะใดก็ตาม  ผู้บริหารจะต้องลงมือประพฤติปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง  โดยไม่ละเลยความประพฤติปฏิบัติที่ต้องการให้เกิดในตัวผู้ใต้บังคับบัญชา  แม้ว่าจะเป็นข้อปฏิบัติเพียงเล็กน้อยก็ตาม           
             ดังนั้น  น่าจะเป็นความสำคัญของการบริหารอีกอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารต้องทราบ และพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้บริหาร คือหลักการครองใจคน ซึ่งพระพุทธศาสนาได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน ใน หลักสังคหวัตถุ ๔ คือ
. ทาน การให้ รู้จักเสียสละแบ่งปันด้วยจิตใจที่โอบอ้อมอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นการครองใจคนที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะคนผู้ให้ ย่อมเป็นที่รักของคนทั่วไป และผู้ให้ย่อมทำให้ เกิดความรัก ความศรัทธา
. ปิยวาจา การพูดจาที่สุภาพ รู้จักเลือกใช้วาจาที่ไพเราะอ่อนหวาน ซึ่งคนอื่นได้ ฟังแล้วสบายใจ อยากอยู่ใกล้ อยากคบค้าสมาคมด้วย ต้องมีความรับผิดชอบต่อคำพูดของ ตนเอง ตามภาษิตที่ว่าพูดเป็นนายใจเป็นบ่าวหมายความว่า ให้คิดก่อนพูด พูดแล้วต้องทำ ปฏิบัติตามอย่างที่พูด
 . อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกันและกัน รู้จักแบ่งน้ำใจให้แก่มวลมิตร แม้จะเพียงน้อยนิดก็ยังดีกว่าไม่มีไมตรีจิตเอาเสียเลย
. สมานัตตา ป็นคนวางตนเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีการเสแสร้งแต่อย่างใด นอกจากนี้ แล้ว การมีสัจจะ การมีความยับยั้งและข่มใจ การมีความอดทน และการ เป็นผู้ให้และเป็นผู้รับที่ดี ก็จะสามารถครองคนได้ประการหนึ่ง
เคล็ดลับในการรู้จักคน  
1.             ยกปัญญา  ผิดชอบชั่วดีมาทดสอบอุดมการณ์ของเขา
2.            ไล่ให้จนตรอก  เพื่อทดสอบความเปลี่ยนแปลงของเขา
3.            ใช้กลอุบายทดสอบสติปัญญา
4.            ทำให้เขาตกอยู่ในภาวะคับขันเพื่อทดสอบความกล้าหาญ
5.            มอมเหล้าให้เมาเพื่อดูสันดาน
6.            ให้ประโยชน์ล่อหลอกเพื่อดูคุณธรรม
7.            มอบงานให้เพื่อทดสอบความศรัทธา ความเชื่อมั่นของเขา 
ประเภทของคน
1.             เจ้าสำราญ
2.            งานละวาง
3.            อ้างตำรา
4.            ข้าสิแน่
5.            แก่โจมตี
6.            ดีแต่เงียบ
7.            เหยียบตัวเอง
8.            เกรงคนอื่น
9.            ลื่นปลาไหล
10.    ไม่แยแส
11.    แก่อวดดี
12.    มีปลอกคอ
ลักษณะของคน
1.             หัวไวใจสู้
2.            รอดูท่าที
3.            เบิ่งตาลังเล
4.            หันเหหัวดื้อ
5.            งอมือจับจ่าย
การอยู่ของคน
1.             อยู่อย่างแมงดา
2.            อยู่อย่างธรรมดา
3.            อยู่อย่างเทวดา
คนที่ไม่นำพาความเจริญ
1.             วางเฉยจับเจ้า
2.            เอาแต่สังคม
3.            งมงายเหลวไหล
4.            อวดใหญ่อันธพาล
5.            สันดานขี้ตืด
6.            ยืดแต่ไม่ฉลาด
7.            ประสาทฟุ้งซ่าน
คนด้อยพัฒนา
1.             โดดเดี่ยว
2.            ดื้อยา
3.            น้ำชาล้นถ้วย
4.            ป่วยแล้วไม่รักษา
5.            หาผลประโยชน์เฉพาะตน
ข้อควรคำนึงในการครองคน
     
1.        เป็นมิตรเมื่อกู้   เป็นศัตรูเมื่อทวง
     
2.       มิตรภาพมีฝ่ายเดียวไม่ได้
     
3.       มีเพื่อนบ้านดี  ไม่ต้องมีรั้วก็ได้
     
4.      ถ้าท่านเป็นเพื่อนบ้านที่ดี   ท่านก็จะได้เพื่อนบ้านที่ดี
     
5.      ถ้าท่านให้เงินแก่เพื่อน  ท่านเสียเงินแต่ไม่เสียเพื่อน 
           
ถ้าท่านให้เพื่อนยืมเงิน   ท่านจะเสียทั้งเงินและเพื่อน
     
6.       ผมหงอกที่ขาวโพลนอยู่ทุกเส้น  ไม่ใช่เครื่องแสดงความชราของคน
     
7.       จงพยายามค้นหาความดีของคนอื่น  เพื่อสรรเสริญด้วยความจริงใจ
     
8.      การรบที่ชนะร้อยครั้ง  สู้การชนะที่ไม่ต้องรบเพียงครั้งเดียวไม่ได้
     
9.     ของที่เป็นประกาย  อย่าเข้าใจว่าเป็นเพชรเสมอไป
     
10.    อย่าเลี้ยงคนชั่ว
     
11.    ผู้บริหารต้องสามารถเป็น 
·        ยักษ์
·       พราหมณ์
·       เทวดา
·       คน 
การครองงาน คือการรู้จักทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ความรู้ ความถนัดทางทฤษฎีประการเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่  ผู้ที่ฉลาดสามารถแต่ในหลักวิชาโดยปกติวิสัยจะได้เพียงแต่ชี้นิ้วให้ผู้อื่นทำ  ซึ่งจะไม่สร้างศรัทธา และไม่อาจทำให้ผู้ใดเชื่อถือ หรือเชื่อฟังอย่างสนิทใจได้  เพราะไม่แน่ใจว่าผู้ที่ชี้นิ้วจะรู้จริง  ทำได้จริงหรือไม่  ความสำเร็จในการทำงานทั้งสิ้นเกิดขึ้นได้เพราะการลงมือกระทำ  ดังนั้น  ผู้ที่ชำนาญทั้งทางทฤษฎี และทางปฏิบัติ  จึงจัดว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน และมีขีดความสมารถสูง  เป็นที่เชื่อใจ และไว้วางใจได้ว่าจะดำเนินงานทั้งปวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะสามารถทำงาน   สั่งงาน และสั่งคนได้อย่างถูกต้องแท้จริง  
คำว่างาน คือ กิจกรรมที่มนุษย์กระทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตนเอง หรือกิจกรรมที่ร่วมกันกระทำขึ้นเพื่อสังคม จำแนกได้ ดังนี้
ลักษณะของงาน
 . งานราชการ คือ งานที่เกิดขึ้นจากผลของกฎหมาย ที่ผู้มีอำนาจรัฐกำหนดเป็น หน่วยงานทางราชการ ได้แก่งานในกระทรวง กรม ต่าง ๆ
. งานกึ่งราชการ คือ งานที่รัฐบาลร่วมมือกับเอกชน เช่น รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ กิจการ ที่เป็นสาธารณูปโภค เช่น การไฟฟ้า การขนส่ง การไปรษณีย์โทรเลข เป็นต้น
. งานภาคเอกชน คือ งานที่เอกชนหรือนิติบุคคลจัดทำขึ้น เช่น บริษัท ห้างร้าน สมาคม มูลนิธิ และงานอาชีพอิสระภายในครอบครัว เช่น งานอุตสาหกรรม งานบริการ งานเกษตรกรรม เป็นต้น
. งานธุรกิจส่วนตัว เช่น การประกอบอาชีพโดยสุจริตโดยตนเองเป็นผู้ลงทุนแต่เพียงผู้เดียว หรือโดยครอบครัว
ในการทำงานนั้น แต่ละคนย่อมจะมีเป้าหมายต่างกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อสรุปแล้วก็ อยู่ในประเด็นต่อไปนี้
ประเภทของงาน
1.             งานดิน              :  ทำนำ  ทำด้วย  ช่วยทำ
2.            งานฟ้า                :  งานสร้างสรรค์  (งานใหม่)
3.            งานขี้ข้า              :  ครู   ผู้บริหาร  (ทุกคนต้องบริการ)
4.            งานราชา             :  งานตามระเบียบ  แบบแผน  นโยบาย
เป้าหมายการทำงาน
. ทำงานเพื่อให้ได้เงิน ถึงแม้เงินจะไม่ใช่เป้าหมายของทุกงานก็ตาม แต่หลักความ จริงอันหนึ่ง ก็คือ มนุษย์เรามีความต้องการด้านร่างกาย มนุษย์จึงพยายามทำงานเพื่อให้ได้ เงินมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ขวนขวายหาวัตถุหรือสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ตนเองได้ อยู่อย่างสุขสบาย การทำงานจึงต้องมุ่งหวังเงินเป็นสิ่งตอบแทน เป็นเบื้องต้นก่อน
.ทำงานเพื่อให้ได้อำนาจ นอกจากความต้องการด้านร่างกายแล้ว มนุษย์ยัง ต้องการให้คนอื่นเคารพยำเกรง ชอบการยกย่องชมเชย การทำงานส่วนมากจึงตั้งเป้าหมาย ที่จะเป็นหัวหน้างานหรือผู้นำที่มีอำนาจ เป็นผู้บริหารกิจการของรัฐ
.ทำงานเพื่อให้ได้ตำแหน่งทางสังคม การมีอำนาจและตำแหน่งจะมีความ เกี่ยวพันกัน เพราะเมื่อมีตำแหน่งก็จะมีอำนาจในการสั่งการหรือบริหารตามความมุ่งหวัง ของตน
.ทำงานเพื่อความรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถ เพราะถ้าหากทำงานได้บรรลุ เป้าหมายหรือเกิดผลสำเร็จ ก็จะรู้สึกภาคภูมิใจ และได้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่า ทั้งยังจะได้รับความชื่นชม จากคนอื่นอีกด้วย 
. ทำงานโดยมีเป้าหมายเพื่อสังคมและส่วนรวม จะมีกลุ่มบุคคล อีกกลุ่มหนึ่งที่มีเป้าหมายในการช่วยเหลือสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนต่อ ประโยชน์ส่วน ตน เช่น มูลนิธิการกุศล สมาคมสงเคราะห์ หรือนักบวชที่อุทิศ ตนให้ศาสนา มุ่งหวังสอนบุคคลให้เป็นคนดี อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข จากเป้าหมายของการทำงานจึงพอ สรุปได้ว่า บุคคลทำงานอาชีพมีเป้าหมายของการทำงานเพื่อให้ตนเองและบุคคลอื่นที่อยู่ใน สังคม เกิดความสุขทุก ๆ ด้านตามความต้องการของมนุษย์  
วิธีการครองงาน
. รักและศรัทธาในงานที่ทำ งานอะไรก็ตาม ถ้าเรามีความรักและมีความศรัทธา ในงานที่ทำแล้ว งานนั้นย่อมจะประสบผลสำเร็จ เพราะถ้าเราชอบงานอะไรแล้ว ใจก็จะ มุ่งมั่นในการทำงานนั้น จนประสบผลสำเร็จ อย่างเป็นครูต้องรักและศรัทธาในอาชีพครู เป็นต้น
. มีความขยันหมั่นเพียนในการทำงาน ถ้าเรามีความขยันหมั่นเพียรใน การทำงานแล้ว
งานนั้น ๆ ย่อมจะประสบผลสำเร็จโดยง่าย
. เอาใจใส่ต่องานที่ทำ ใครก็ตาม ถ้าทำงานโดยมีเป้าหมายแล้ว ย่อมจะต้องเอาใจใส่ต่องานที่ทำเสมอ การทำงานที่เอาใจใส่ งานย่อมประสบผลสำเร็จ
. หมั่นตรวจสอบข้อบกพร่องของานและปรับปรุงให้ดีขึ้น ถ้าทำงานโดยมี การปรับปรุงงานให้ดีขึ้นเสมอ จึงจะถือได้ว่า มีการปรับปรุงงาน เหมือนกับการประเมินผล งานนั้นเอง
หลักการครองงาน
1.             เอาใจใส่ต่อหน้าที่
2.            ทำดีไม่ท้อถอย
3.            ไม่ปล่อยให้ว่าง
4.            มุ่งหวังความสำเร็จ
5.            เสร็จงานคือเป้าหมาย
6.            ประจบนายด้วยงาน
7.            อย่าชอบการสอพลอ
8.            อย่าตัดพ้อคำตำหนิ
9.            ควรดำริสร้างสรรค์
10.    ยึดมั่นอุดมการณ์ 
            จากทั้งหมดที่นำเสนอมานั้น  จะเห็นว่า  การครองตนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งถ้าผู้บริหารคิดจะครองคนให้ได้  สิ่งสำคัญต้องสามารถครองคนให้ได้  แล้วงานก็จะสำเร็จตามมาเป็นกระบวนการ  ผู้บริหารทุกท่านโปรดอย่าลืมว่า
                        จะปลูกพืช ................  ต้องเตรียมดิน
จะกิน ...................................  ต้องเตรียมอาหาร
จะพัฒนาการ ......................  ต้องเตรียมประชาชน
จะพัฒนาคน ........................  ต้องพัฒนาที่จิตใจ
จะพัฒนาใคร .......................  ต้องพัฒนาตัวเราก่อน
      ที่มา : http://www.isankosol.ac.th/EA724/EA723.doc

  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น