วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555




กิจกรรมเล่านิทาน
โรงเรียนอนุบาลุพทไธสง(โอภาสประชานุกูล)

23  มีนาคม  2555
            การเล่านิทานเป็นกิจกรรมบันเทิงใจ ที่มนุษย์ได้กระทำมานานก่อนการสร้างมหรสพประเภทอื่น การเล่านิทานเล่าได้ทุกที่และทุกโอกาส ไม่ต้องมีพิธีรีตองเเต่อย่างใด ฉะนั้นการเล่านิทานจึงนิยมกันเเพร่หลายในทุกชาติทุกภาษา ทุกชนชั้นและทุกวัย
จุดประสงค์ของการเล่านิทาน
            ๑.  เพื่อความบันเทิงใจในยามว่างจากการประกอบกิจการงาน
            ๒.  เพื่อเป็นสื่อในการสอนจริยธรรม
การเล่านิทาน แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
            ๑.  การเล่านิทานในครอบครัว เป็นการเล่านิทานสู่กันฟังเมื่อมีเวลาว่าง ไม่จำเป็นต้องมีผู้ฟังจำนวนมาก โดยอาจจะมีผู้ฟังเพียงคนเดียวหรือสองคน เวลาเเละสถานที่ในการเล่านิทานไม่จำกัด เนื้อเรื่องของนิทานขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้
                        ๑.๑  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่ากับผู้ฟัง ถ้าผู้ใหญ่เป็นผู้เล่าให้ลูกหลานฟัง จะเล่านิทานคติธรรม หากอยู่ในวัยเดียวกัน เรื่องที่เล่ามักเป็นนิทานมุกตลก
                        ๑.๒  ผู้เล่าจะเป็นผู้กำหนดเนื้อเรื่องนิทาน ถ้าผู้เล่าสนใจนิทานมุขตลกใดเป็นพิเศษ ก็มักจะจดจำเนื้อเรื่องนิทานประเภทนั้นได้ดี ผู้เล่าแต่ละเพศเเต่ละวัยจะสนใจนิทาน
เเตกต่างกัน เช่น ถ้าผู้เล่าเป็นเด็กหรือผู้ชาย มักจะจดจำนิทานประเภทมุขตลก
                        ๑.๓  เวลาเเละโอกาส ถ้าหากผู้เล่ามีเวลาว่างก็จะเล่านิทานยาว ๆ หลายตอนจบเเละมีเวลาทบทวนนิทาน
                        ๑.๔  ผู้ฟัง มีความสำคัญต่อนิทานที่นำมาเล่า เพราะนิทานประเภทต่าง ๆ ที่จะนำมาเล่าต้องขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ฟัง
การเล่านิทานในที่ชุมชน
            การเล่านิทานในที่ชุมชนค่อนข้างจะเป็นพิธีการ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยม เพราะในโอกาสที่ชาวบ้านมาร่วมกิจกรรมงานบุญกุศลทุกวันนี้ เจ้าภาพมีเครื่องบันเทิงใจอย่างอื่นมาทดเเทน เช่น วงปี่พาทย์ เครื่องเล่น เเถบบันทึกเสียง เเผ่นเสียง เป็นต้น การเล่านิทานในท้องถิ่นต่าง ๆ สมัยก่อน มีดังนี้
            ๑.  ภาคกลาง ในงานกุศล เช่น งานบวชนาค งานทอดกฐิน งานมงคลสมรส ผู้เล่ามักเป็นนักขับลำ (ลำ หมายถึง เพลง บทกลอน) เมื่อถึงตอนสำคัญจะเเทรกทำนองขับลำ
            ๒.  ภาคเหนือ ในงานศพ เจ้าภาพจะหาผู้ที่เล่านิทานเก่ง ๆ ในหมู่บ้านมาเล่าเนิทาน ถ้าเป็นร้อยแก้ว เรียกว่า "เล่าเจี้ย" ถ้าเป็นการขับลำนิทานสำนวนร้อยกรองประกอบดนตรี เรียก "เล่าค่าว" หรือ "ค่าวซอ"
            ๓.  ภาคอีสาน ในงานศพ (งานบุญเฮือนดี) จะมีการเล่านิทานพื้นบ้านเช่นกัน ต่อมาได้นำหนังสือวรรณกรรมพื้นบ้านมาอ่านเป็นทำนอง
เรียกว่า "ลำ" มีหลานทำนอง เช่น ลำพื้น ลำเรื่อง ลำเต้ย ลำเพลิน เป็นต้น
            ๔.  ภาคใต้ มีการเล่านิทานพื้นบ้านเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ มีวรรณกรรมประเภทกลอนสวด เเต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ได้แก่กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางค์นางค์ มาอ่านเป็นทำนองเสนาะในที่ประชุม เรียกว่า "การสวดหนังสือ" หรือ "สวดด้าน"

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น