วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

              หมายถึง  การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ  อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
ลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีดังนี้  (อาภรณ์  ใจเที่ยง,2544)
             
     1.  Active Learning  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ  หรือปฏิบัติด้วยตนเอง                        
                 
2.  Constructivism  ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าทดลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงจนเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
                  3.  Resource  ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  ที่หลากหลาย
                  4.  Thinking Skills  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด  ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหา  คิดวิเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                  5.  Happiness  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข
                  6.  Participation  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดงานวางเป้าหมายร่วมกัน           
                 
7.  Individualization  ผู้สอนยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
                 
8.  Good Habit  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น  ความรับผิดชอบ  ความมีน้ำใจ ความมีระเบียบวินัย  และลักษณะนิสัยในการทำงาน  กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่น  และการเห็นคุณค่าของงาน
บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีดังนี้   (ชาติแจ่มนุช และคณะ : มทป)
                  1.  เป็นผู้จัดการ (Manager)           
                
2. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งเรียนรู้ (Helper and resource)

                 
3.  เป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนกระบวนการเรียนการสอน  (Facilitator)
  4.  เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ (Monitor)
บทบาทของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. 2543 : 38-39)
                  1.  เป็นผู้ลงมือกระทำ (Actor)                           2.  เป็นผู้มีส่วนร่วม (Participant)
                 
3.  เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้เรียน (Member)       4.  เป็นผู้ประเมิน (Evaluator)
การวัดและประเมินผล
                  จะนิยมใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)  ได้แก่  การใช้ Portfolioการใช้แบบทดสอบความสามารถจริง (Authentic Test)  การสังเกต  การบันทึกพฤติกรรม  การสัมภาษณ์  การสาธิต การนำเสนอผลงาน
              การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  เช่น  เกมการศึกษา  สถานการณ์จำลอง  กรณีตัวอย่าง  บทบาทสมมุติ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การทดลอง  การแก้ปัญหา ทัศนศึกษานอกสถานที่  สืบสวนสอบสวน  โมเดลซิปปา 
        กล่าวโดยสรุป
 การจัดกิจกรรมที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเรียน  ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ  ได้ประยุกต์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิต  ได้มีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้  ตลอดจนมีคุณลักษณะนิสัยดีงามที่สังคมพึงปรารถนา
                                                                     หนังสืออ้างอิง
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (ร่าง) การปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. เอกสารอัดสำเนา, 2543.
ชาติ แจ่มนุช และคณะ. นักเรียนเป็นศูนย์กลางคืออย่างไร. เอกสารอัดสำเนา, มปป.
ประเวศ วะสี. ปฏิรูปการศึกษา-ยกเครื่องทางปัญญา : ทางรอดจากความหายนะ. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร :
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, 2541.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. การพัฒนากระบวนการคิด.เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนารูปแบบ การสอนที่เน้นกระบวนการคิดตามแนวปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้, นครปฐม : ศูนย์ศึกษาพัฒนาครู คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม, 2543.
วิชัย วงษ์ใหญ่.พลังการเรียนรู้ : ในกระบวนการทัศน์ใหม่.(พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพหานคร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2542
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ, การเรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลสมัยจำกัด, 2543.
(ที่มา บทความเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย ผศ.อาภรณ์ ใจเที่ยง วารสารครุสาร คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2544)


วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ไม้มงคล

  ไม้มงคล


ต้นราชพฤกษ์
ชื่อวงศ์          LEGUMINOSAE
ชื่อวงศ์ย่อย   MIMOSOIDEAE
ชื่อสามัญ      Golden Shower, Indian Laburnum,  Pudding-pine Tree
ลักษณะทางพฤกษศาสตร  ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 9-15 เมตร มักแตกกิ่งต่ำ ลำต้น ค่อนข้างเปลาตรง เปลือกสีเทาขาว หรือน้ำตาลเทาเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดหนาในต้นขนาดใหญ่ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ แกนยาว 20-30 เซนติเมตร ใบย่อย เกลี้ยงออกตรงกันข้าม 3-8 คู่ แผ่นใบย่อย รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 7-13 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนสอบกว้างหรือเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ก้านใบย่อยยาว 5-10 เซนติเมตร หูใบขนาดเล็กหลุดร่วงง่าย 


ต้นชัยพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์       Cassia javanica L.
วงศ์                          LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่อสามัญ                  Javanese Cassia
ชื่ออื่น ๆ                    กัลปพฤกษ์
ลักษณะของต้นไม้ ความสูงประมาณ 15 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล ทรงพุ่มใบกลมคล้ายร่ม เมื่อต้นยังอ่อน มีหนาม ใบประกอบจะเป็นรูปขนนกปลายคู่เรียงสลับ มีใบย่อย 5-15 คู่ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปรี หรือรูปขอบขนานขนาดกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบกลม ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียด ดอก เริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ใกล้โรยดอกจะมีสีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่งยาว 5-16 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ดอกเส้นผ่าศูนย์กลาง   3.5 เซนติเมตร ผลเป็นฝักกลมสีดำ ยาว 20-60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อแก่ไม่แตกมีเมล็ดจำนวนมาก

                             ไผ่สีสุก
ชื่อวิทยาศาสตร์
    Bambusa blumeana Schult.                                           
วงศ์
                      GRAMINEAE-BAMBUSOIDEAE                                                                                      
ลักษณ ะของต้นไม้ เป็นไม้ไผ่ประเภทมีหนาม ความยาวลำต้นสูง
10-18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร แข็งผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา กิ่งมากแตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ   3 กิ่ง กิ่งที่อยู่ตรงกลางยาวที่สุด ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน 5-6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มกว้าง ๆ หรือตัดตรง   แผ่นใบกว้าง 0.8-2 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ใต้ใบมีสีเขียว   อมเหลือง เส้นลายใบมี 5-9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสากคลีบใบเล็กมีขน

                         ต้นทองหลาง
ชื่อวิทยาศาสตร์   
Erythrina Fusca
วงศ
                      LEGUMINOSAE
ชื่อท้องถิ่น ภาคกลาง ทองหลาง ทั่วไปก็ ทองหลางหนาม ทองหลางน้ำ
ลักษณะของพืช ต้นทองหลาง นับว่าเป็นพืชที่มีต้นโต เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งถือว่าเป็นต้นไม้ขนาดกลาง ลักษณะของใบมน คล้ายกับใบของถั่วพู ใบโตราว
3-4 นิ้ว ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ ที่ลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนามเล็ก ๆ แหลมคมตลอด ดอกของทองหลางน้ำคล้ายดอกแคแดงต้นทองหลางน้ำสามารถดูดเอาน้ำมา เก็บไว้ในลำต้นได้มากกว่าต้นไม้ชนิดอื่น สามารถทำให้พื้นดินมีความชุ่มชื้น ได้โดยตลอด เราจึงเห็นในสวนทั่วไปมีต้นทองหลางน้ำเสมอ เพราะชาวสวนเข้าใจในเรื่องนี้ดีนั่นเองพืชชนิดอื่นจะได้ประโยชน์จากต้นทองหลางได้
รสและสรรพคุณยา เอาเปลือกทองหลางมาต้ม ดื่มแก้เสมหะมากก็ได้การต้มจะเอาใบมาต้มด้วยก็ได้ นอกจากนี้ยังแก้ลมพิษก็ได้ เอามาหยอดตาแก้ตาแดง ตาเจ็บ ตาแฉะ ก็ได้อีกแต่จะต้องระวังเรื่องความสะอาดเอาไว้ให้มาก
ต้นขขนุน

ชื่อวิทยาศาสตร์   Artocarpus heterophyllus Lam.
 วง                    MORACEAE
 ชื่อสามัญ            Jackfruit Tree
 ชื่ออื่น ๆ              มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง
 ลักษณะของต้นไม ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตรลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผล จะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน  ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยงผลเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่


                    ต้นพะยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์ 
Dalbergia cochinchinensis Pierre
งศ์   LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE                                                   
ชื่อสามัญ   Siamese Rosewood                                                                                                
ชื่ออื่น ๆ   ขะยุง , แดงจีน , ประดู่เสน , พะยุง                                                       
ลักษณะของต้นไม้  เป็นไม้ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ ใบ เป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7-9 ใบ ขนาดกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1-4 เมล็ด
    ต้นทรงบาดาล

ชื่อสามัญ                      Kalamona
ชื่อวิทยาศาสตร            Cassia surattensis Burm..
ตระกูล                         LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น                          ขี้เหล็กหวาน , ตรึงบาดาล
ลักษณะทั่วไป ทรงบาดาลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร ทรงพุ่มมีการแตกกิ่งก้านสาขามากและแน่นทึบ ใบเป็นใบรวมออกเป็นแผงบนก้านใบ แผงใบยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ใบเรียบอยู่บนแผงเป็นคู่มีประมาณ 8-12 ใบ ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอดของลำต้น มีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีสีเหลือง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นฝักแบน ๆ ออกเป็นช่อ ฝักเป็นคลื่น คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นทรงบาดาลไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความยิ่งใหญ่ กว้างขวาง เพราะทรงบาดาลคือผู้เป็นใหญ่แห่งนาคพิภพในชั้นบาดาล และยังมีบางคนกล่าวว่าทรงบาดาลหรือทรงบันดาล คือการเกิดขึ้นแห่งพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ และยังมีความเชื่ออีกว่าจะทำให้มีทองมาก เพราะดอกทรงบาดาลสามารถออกดอกตลอดปี ลักษณะดอกขณะบานมีสีเหลือง เรืองรองดั่งทองอำไพ
          ต้นสัก   

ชื่อวิทยาศาสตร์        Tectona grandis L.f.
วงศ์                          VERBENACEAE
ชื่อสามัญ                  TEAK
ชื่ออื่น                       เคาะเยียโอ ปายี้ เป้อยี เส่บายี้
ลักษณะของต้นไม ไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ สูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป ลำต้นเปลาตรง โคนมักเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่ม ทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามความยาวลำต้น เปลือกในสีเขียวอ่อนใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายแหลมโคนมน ยาว 25-30 เซนติเมตร กว้าง 20-30 เซนติเมตร ใบของต้นอ่อน จะใหญ่กว่านี้มาก เนื้อใบสากคายสีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนกว่า มีต่อมเล็ก ๆ สีแดง ขยี้ใบจะมีสีแดงเหมือนเลือด ดอกขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่กระจายตามปลายกิ่ง ผลแห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1 - 3 เมล็ด
                 ต้นกันเกรา
 
ชื่อวิทยาศาสตร์
            Fagraea fragrans Roxb.
วงศ์ 
                             LOGANIACEAE
ชื่ออื่น ๆ
                        มันปลา , ตำเสา , มะซูลักษณะของต้นไม้ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบ เดี่ยวออกตรงกันข้าม   แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  6 มม. สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก


วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ฮีต ๑๒ คอง ๑๔

ประเพณี "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" เป็นประเพณีงานบุญท้องถิ่นของชาวอีสาน  คำว่า "ฮีตสิบสอง"หมายถึง งานประเพณีสิบสองเดือน เช่น
            งานบุญเดือนอ้าย        คืองานบุญเข้ากรรม
,
            เดือนยี่                         คืองานบุญคูณลาน
,
            เดือนสาม                     คืองานบุญข้าวจี่,  
            เดือนสี่                         คือ งานบุญพระเวส
(หรือผะเหวด),     
            เดือนห้า                       คืองานบุญสงกรานต์,
            เดือนหก                       คืองานบุญบั้งไฟ
,
            เดือนเจ็ด
                      คืองานบุญข้าวประดับดิน, 
            เดือนแปด                    คืองานบุญเข้าพรรษา
, 
            เดือนเก้า
                      คืองานบุญข้าวประดับดิน,
            เดือนสิบ
                      คืองานบุญข้าวสาก หรือบุญสลากภัต
            เดือนสิบเอ็ด                คืองานบุญออกพรรษา           
           
เดือนสิบสอง                คืองานบุญกฐินส่วน

คองสิบสี่ หมายถึง ข้อกติกาของสังคม ๑๔ ประการที่ยึดถือปฏิบัติต่อกันเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม มีดังนี้
๑.  เมื่อได้ข้าวใหม่หรือผลหมากรากไม้ ให้บริจาคทานแก่ผู้มีศีลแล้วตนจึงบริโภคและแจกจ่ายแบ่งญาติพี่น้องด้วย
๒. อย่าโลภมาก อย่าจ่ายเงินแดงแปงเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำหยาบช้ากล้าแข็ง
 ให้ทำป้ายหรือกำแพงเอือนของตน แล้วปลูกหอบูชาเทวดาไว้ในสี่แจ(มุม)บ้านหรือแจเฮือน
 ให้ล้างตีนก่อนขึ้นเฮือน ๕ เมื่อถึงวันศีล ๗-๘ ค่ำ ๑๔-๑๕ ค่ำ ให้สมมาก้อนเส้า สมมาคีงไฟ สมมาขั้นบันได สมมาผักตู(ประตู)เฮือนที่ตนอาศัยอยู่
๖. ให้ล้างตีนก่อนเข้านอนตอนกลางคืน
๗. ถึงวันศีล ให้เมียเอาดอกไม้ธูปเทียนมาสมมาสามี แล้วให้เอาดอกไม้ ไปถวายสังฆเจ้า
๘. ถึงวันศิลดับ ศิลเพ็ง ให้นิมนต์พระสงฆ์มาสูดมนต์เฮือน แล้วทำบุญตักบาตร
๙.  เมื่อภิกษุมาคลุมบาตร อย่าให้เพิ่นคอย เวลาใส่บาตรอย่าซุน(แตะ)บาตร อย่าซูนภิกษุสามเณร
๑๐. เมื่อภิกษุเข้าปริวาสกรรม ให้เอาขันขันข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องอัฐบริขารไปถวายเพิ่น
๑๑. เมื่อเห็นภิกษุ เดินผ่านมาให้นั่งลงยกมือไหว้แล้วจึงค่อยเจรจา
๑๒. อย่าเงียบ(เหยียบ)เงาพระสงฆ์
๑๓. อย่าเอาอาการเงื่อน(อาหารที่เหลือจากการบริโภค)ทานแก่สังฆเจ้าและอย่าเอาอาหาร  เงื่อนให้สามีตัวเองกิน
๑๔. อย่าเสพกามคุณในวันศีล วันเข้าวัดสา วัดออกพรรษา วันมหาสงกรานต์และวันเกิดของตน