วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

เที่ยวเมืองจันทบุรี
การตั้งถิ่นฐาน
                เมืองจันบุรีเป็นชุมชนโบราณเก่าแก่มีอายุมากว่า 1,000 ปี ยังมีร่องรอยอารยธรรมโบราณของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 6,000 - 4,000 ปี หลักฐานที่ปรากฏทั้งด้านมานุษยวิทยาศิลปะและประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐาน การเติบโตอย่างกว้างขวางในท้องถิ่น การขยายตัวติดต่อค้าขายกับต่างถิ่น การรับและถ่ายทอดการผสมผสานทางวัฒนธรรม ซึ่งมีการพัฒนาการยาวนานต่อมาจนกระทั่งเป็นเมืองจันทบุรีในปัจจุบัน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์จันทบุรี
                สมัยก่อนประวัติศาสตร์จันทบุรีเป็นการศึกษาเรื่องราวของจันทบุรีในอดีตจากหลักฐานต่าง ๆ ที่พบ โดยการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณพื้นที่จังหวัดจันทบุรี การศึกษาในทางโบราณคดีแยกศึกษาได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ยุคสมัย คือ
โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ( Prehistoric Archaeology ) คือ
ช่วงเวลาก่อนที่จะมีประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร จึงครอบคลุมเพียงแต่ช่วงเวลาที่เกิดบรรพบุรุษรุ่นแรกของคน วัฒนธรรมของคนในโลกมาถึงช่วงที่คนเริ่มจดบันทึกเท่านั้น จุดเริ่มต้นของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งยึดหลักฐานทางวัฒนธรรมกำหนดนั้น ในแต่ละภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เนื่องจากการอพยพ การตั้งถิ่นฐาน ตลอดจนวิวัฒนาการของมนุษย์
โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ( Historic Archaeology )
                เป็นช่วงเวลาที่มีประวัติศาตร์เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว หลักฐานต่าง ๆ เหล่านั้นเรียกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ( HistoricalEvidences ) ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร ปูมโหร ปูมแพทย์ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุเนื่องจากมนุษย์ในดินแดนต่าง ๆ ของโลกเริ่มทำการบันทึกเวลาต่าง ๆ ไม่พร้อมกัน การสิ้นสุดของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนต่าง ๆ ของโลกจึงปรากฏขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ของบางภูมิภาคจะเป็นช่วงที่พบหลักฐานทางภาษาหรือตัวหนังสือ แต่ไม่สามารถอ่านหรือนำมาเป็นข้อมูลประวัติศาสตร์ได้ จึงเรียกช่วงเวลานี้ว่าสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ ( Proto History )
                การศึกษาประวัติของจังหวัดจันทบุรีที่ผ่านมาจะศึกษาจากตำนานเรื่องเมืองกาไวและพระนางกาไวเรื่องราวของตำนานจะเชื่อมโยงถึงวัดทองทั่ว ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งพบทับหลังลักษณะศิลปะถาลาบริวัตรต่อสมโบร์ไพรกุก พ.ศ. 1150 ( สุภัทรดิศ ดิศกุล : 2504 ) และทับหลังแบบศิลปะไพรกเมง พ.ศ. 1180 - 1250 เป็นเบื้องต้น
ประวัติและ ความเป็นมาของจังหวัดจันทบุรี . . .
จันทบุรี หรือเมืองจันท์ เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในอาณาจักรขอมในอดีต ซึ่งครั้งนั้นได้ตั้งอยู่ที่หน้าเขาสระบาปแต่ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 1700 ได้ย้ายมาตั้งที่ริมฝั่งแม่น้ำจันทบุรี ทางฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งในปัจุบันจันทบุรีเริ่มมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เมื่อครั้งไทยเสียกรุงศรีอยุธยา ( สมัยพระรามาธิบดีที่ 1 ) ให้แก่พม่า ในปี 2310 ซึ่งครั้งนั้นพระเจ้าตากสินได้รวบรวมไพร่พลยกมาตีเอาจันทบุรีไว้ ครั้งถึงสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้สร้างป้อมค่าย และเมืองขึ้นที่เนินวงตำบลบางกะจะเพราะเป็นชัยภูมิที่ดี เหมาะที่จะเป็นฐานทัพในการต่อสู้กับญวนในปี พ.ศ. 2436 หรือ ร.ศ 112 และขณะนั้นฝรั่งเศสได้ปกครองญวนอยู่ได้ยกทัพเข้ามายึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปีเศษ ตอนหลังไทยได้ยกดินแดนในเขตจังหวัดตราดถึงจังหวัดประจันตคีรีเขตให้แก่ฝรั่งเศส จึงได้จังหวัดจันทบุรีกลับคืนมาในวันที่ 12 มกราคม 2447จากนั้นได้ยกฐานะเป็นมณฑลขึ้นในปี พ.ศ. 2449 และต่อมาในปี 2475 ได้จัดระเบียบการปกครองใหม่ยุบมณฑลจันทบุรีขึ้นเป็น จังหวัดจันทบุรีจนถึงปัจจุบัน . . .




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น