วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันสุนทรภู่ 2555
นายวิรัช  ปัญญาวานิชกุล  ผอ.ร.ร.อนุบาลพุทไธสง กล่าวเปิดงาน
นางนิตติยา  ปรึกไธสง เจ้าของโครงการกล่าวรายงาน
กรรมการแต่งคำคล้องจอง
ตัดสินคำคล้องจอง

ทำหน้าที่พิธีกรในการบรรยายได้ดีจริงๆ 
 เมืองรัตนาคงจะอุดมสมบูรณ์
 พระอภัยมนีและสุดสาครปรึกษากันว่าจะไปเรียนอะไรดี
 นางปทุมเกสร  แสดงได้เยี่ยมจริง ๆ
 พรามณ์ทั้งสามต่างหลับใหลเมื่อได้ยินเสียงปี่ของพระอภัยมนี
 นางผีเสื้อสมุทรจะเอาพระอภัยมนีไปไหนจ๊ะ
 หลงไหลในความสวยของนางผีเสื้อสมุทร
 จะไปเที่ยวไหนจ๊ะ
แม่กับลูกเงือกสวยพอ ๆ กันเลยนะเนี่ย
 เจ็บมากไหม๊
 คณะครูเยี่ยมชมนิทรรศการ

ถ้าเอ่ยชื่อ "สุนทรภู่" เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง "พระอภัยมณี" จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม  หรือ มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" หรือ เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย" และคงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "วันที่ 26 มิถุนายน" ของทุกปีคือ "วันสุนทรภู่" ซึ่งมักจะมีการจัดนิทรรศการ ประกวดแต่งคำกลอน เพื่อแสดงถึงการรำลึกถึง เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงไม่พลาด ขอพาไปเปิดประวัติ "วันสุนทรภู่" ให้มากขึ้นค่ะ...
ชีวประวัติ "สุนทรภู่"
          สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย
          "สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี
          ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ พ่อพัดได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป
          หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง นิราศพระบาทพรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก นิราศพระบาทก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย
          จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"
          ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ
          "สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย
          ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่"
          สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์"
ผลงานของสุนทรภู่
          หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ
ประเภทนิราศ
          - นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
          - นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
          - นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา
          - นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
          - นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
          - นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
          - รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท
          - นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
          - นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร
ประเภทนิทาน
          เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ
ประเภทสุภาษิต
          - สวัสดิรักษา- คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
          - สุภาษิตสอนหญิง - เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่
          - เพลงยาวถวายโอวาท - คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว
ประเภทบทละคร
          - เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประเภทบทเสภา
          - เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)
          - เรื่องพระราชพงศาวดาร
ประเภทบทเห่กล่อม
          แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องกากี

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ทดสอบหลังเรียน UTQ-2131 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ   ได้  20/20  ค่ะ
1. การวัดประเมินผลตามสภาพจริงโดยเน้นการวัดผลจากการปฏิบัติจริง จากแฟ้มสะสมงานชิ้นงาน/ผลงาน/ผู้เรียนประเมินตนเอง สมาชิกครูและผู้ปกครองร่วมวัดและประเมินผลขั้นตอนนี้จัดว่าเป็นขั้นตอนใดของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ขั้นการศึกษา/วิเคราะห์                                     ข. ขั้นประเมินผล
ค. ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ ทดลอง                                 ง. ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน
2. ข้อใดเป็นบทบาทของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ไม่ต้องจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ของผู้เรียน
ข. ไม่ต้องจัดแหล่งความรู้สำหรับผู้เรียนในการอธิบายเพิ่มเติมและสรุปบทเรียน
ค. จัดกิจกรรมอย่างมีระบบโดยตลอดและสอดคล้องกับการพัฒนาพหุปัญญา
ง. เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองเสมอ
3. “มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ตีความ สรุปความคิดเห็นของผู้เรียนหรืออภิปรายสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ได้อย่างชัดเจนข้อความนี้ คือข้อใด
ก. แนวคิดสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ข. ลักษณะเด่นของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ค. บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ง. บทบาทของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
4. ขั้นสรุป/เสนอผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ คือข้อใด
ก. แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน
ข. ผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ฝึกคิดวิเคราะห์
ค. ผู้เรียนปรับปรุงผลงานของตนเองจากการนำเสนอของแต่ละกลุ่มมาพัฒนาให้ดีขึ้น
ง. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มประมวลข้อมูลจากประสบการณ์ทั้งหมดมาวิเคราะห์เป็นความรู้ใหม่
5. ข้อใดเป็นคุณค่าของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมจะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้ในตนเองตลอดเวลา
ข. กระบวนการเรียนรู้ไม่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ค. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามที่ผู้สอนได้จัดเตรียมไว้เท่านั้นให้ศึกษาค้นคว้า
ง. กิจกรรมกลุ่มไม่สามารถช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์
6. ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง
ก. ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการศึกษา/วิเคราะห์ และขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ ทดลอง
ข. ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการศึกษา/วิเคราะห์ ขั้นปฏิบัติ/ ฝึกหัด/ ทดลองและขั้นสรุป/เสนอความรู้
ค. ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการศึกษา/วิเคราะห์ ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ ทดลองขั้นสรุป/เสนอความรู้ และ ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้/นำไปใช้
ง. ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการศึกษา/วิเคราะห์ ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ ทดลองขั้นสรุป/เสนอความรู้ ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้/นำไปใช้และขั้นประเมินผล 
7. ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน แสดงความคิดเห็นและหาข้อสรุปในประเด็นที่ตั้งไว้ซึ่งขั้นตอนนี้จัดว่าเป็นขั้นตอนใดของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ ทดลอง                                ข. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ค. ขั้นการศึกษา/วิเคราะห์                                     ง. ขั้นสรุป/เสนอความรู้
8. ผู้สอนจะต้องกระตุ้นชักจูงโน้มน้าวให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นและสนใจ อยากค้นคว้าหาความรู้ ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่จัดว่าเป็นขั้นตอนใดของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ขั้นการศึกษา/วิเคราะห์                                     ข. ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน
ค. ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ ทดลอง                                  ง. ขั้นสรุป/เสนอความรู้
9. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการร่วมกิจกรรม และการค้นหาคำตอบจากประเด็นคำถามของผู้สอนและเพื่อนๆ สามารถค้นหาวิธีการและคำตอบได้ด้วยตนเอง สามารถแสดงออกได้ชัดเจนมีเหตุผลข้อความนี้คืออะไร
ก. คุณค่าของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ข. แนวคิดสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ค. ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ง. บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
10. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ฝึกฝนการทำงานเป็นกลุ่ม
ข. ให้ความช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ค. เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยการสังเกตและทดลองด้วยตนเอง
ง. ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือระดมความคิดเห็นร่วมกันมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
11. ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนฝึกคิดวิเคราะห์ จินตนาสร้างสรรค์ โดยผู้สอนเป็นที่ปรึกษาดูแลช่วยเหลือซึ่งขั้นตอนนี้จัดว่าเป็นขั้นตอนใดของกระบวนการจัดการ เรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ขั้นการศึกษา/วิเคราะห์                                     ข. ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน
ค. ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ ทดลอง                                               ง. ขั้นประเมินผล
12. ผู้เรียนได้มีการปรับปรุงผลงานตามแนวคิดจากการนำเสนอของแต่ละกลุ่มมาพัฒนาให้ดีขึ้น หรือจากครูผู้สอนมาสร้างผลงานใหม่ขั้นตอนนี้จัดว่าเป็นขั้นตอนใดของการจัดจัดการ เรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ขั้นการศึกษา/วิเคราะห์                                     ข. ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน
ค. ขั้นประเมินผล                                                  ง. ขั้นปรับปรุงผลการเรียนรู้/นำไปใช้
13. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นคุณค่าของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการกิจกรรมและค้นหาคำตอบจากประเด็นคำถามของครูผู้สอนและเพื่อน
ข. ผู้ที่เรียนช้ารู้ช้าจะเรียนรู้ได้อย่างอย่างมีความสุข ได้รับกำลังใจจากเพื่อน
ค. กระบวนการเรียนรู้คำนึงความแตกระหว่างบุคคล
ง. ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือระดมความคิดเห็นร่วมกัน 
14. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ของผู้เรียน
ข. เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองเสมอ
ค. เป็นแหล่งความรู้สำหรับผู้เรียนในการอธิบายเพิ่มเติมและสรุปบทเรียน
ง. จัดกิจกรรมอย่างมีระบบเป็นกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอดและสอดคล้องกับการพัฒนาพหุปัญญา
15. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มประมวลความรู้จากประสบการณ์ทั้งหมดมาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ นำเสนอกลุ่มใหญ่ ในรูปแบบที่หลากหลายเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันจัดว่าเป็นขั้นตอนใดของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ขั้นการศึกษา/วิเคราะห์                                     ข. ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน
ค. ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ ทดลอง                                 ง. ขั้นสรุป/เสนอความรู้
16. แนวคิดสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกค้นคว้า ฝึกลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ข. เป็นการจัดกิจกรรมลักษณะกลุ่มปฏิบัติการด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริง
ค. ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ ทดลองเป็นการจัดกิจกรรมลักษณะบุคคลด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริง
ง. ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติตามแนวประชาธิปไตย
17. ข้อใดเป็นบทบาทของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
ก. ติดตามผลการปฏิบัติและปรับปรุงแก้ไขผลงาน
ข. ฝึกฝนการทำงานรายบุคคล การเป็นผู้นำ ผู้ตาม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ค. ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือระดมความคิดเห็นร่วมกัน
ง. ม่สามารถแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อมีการปฏิบัติงาน
18. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑)จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิดการจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา(๓)จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นและทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จากข้อความดังกล่าวอยู่ในมาตราใดของพระราชบัญญัติการศึกษา
ก. มาตรา 21                                           ข. มาตรา 22
ค. มาตรา 23                                           ง. มาตรา 24
19. ข้อใดเป็นขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติของขั้นศึกษา/วิเคราะห์
ก. ผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ฝึกคิดวิเคราะห์
ข. แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน
ค. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มประมวลข้อมูลจากประสบการณ์ทั้งหมดมาวิเคราะห์เป็นความรู้ใหม่
ง. ผู้เรียนปรับปรุงผลงานของตนเองที่ได้แนวคิดจากการนำเสนอของแต่ละกลุ่มมาพัฒนาให้ดีขึ้น
20. ข้อใดเป็นขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติของขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ทดลอง
ก. แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน
ข. ผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ฝึกคิดวิเคราะห์
ค. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มประมวลข้อมูลจากประสบการณ์ทั้งหมดมาวิเคราะห์เป็นความรู้ใหม่
ง. ผู้เรียนปรับปรุงผลงานของตนเองที่ได้แนวคิดจากการนำเสนอของแต่ละกลุ่มมาพัฒนาให้ดีขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบหลังเรียน  UTQ-2136 การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
1. ข้อใดเป็นความหมายของการประเมินตามสภาพจริง
ก. การประเมินจากภาระงานและกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจ
ข. การประเมินที่เน้นการตอบข้อสอบและการปฏิบัติจริง
ค. การประเมินจากทักษะพื้นฐานในการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง
ง. การประเมินจากภาระงานและกิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิตจริงในแบบบูรณาการ
2. ลักษณะสำคัญของการประเมินตามสภาพจริงคือข้อใด
ก. การประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำวัน
ข. ประเมินความคิด ความสามารถในการปฏิบัติงานและผลงานที่สร้างขึ้นตามมาตรฐานการเรียนรู้
ค. ประเมินความสามารถของผู้เรียนเพื่อค้นหาจุดเด่นในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพของตนเอง
ง. ประเมินวิธีคิด การวางแผน การปฏิบัติงานและผลงานที่ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดตามความสนใจของตนเอง
3. การประเมินผลสำเร็จในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ให้ข้อมูลตรงกับสภาพที่แท้จริงของผู้เรียนคือวิธีใด
ก. การประเมินทักษะการปฏิบัติงาน
ข. การตรวจผลงานที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการเรียนรู้
ค. การสะท้อนตนเองเพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงาน
ง. การสัมภาษณ์ผู้เรียนถึงเหตุผล ความคิดและความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
4. “อธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนฤดูกาลได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลจัดเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ด้านใด
ก. ด้านความรู้
ข. ด้านกระบวนการ
ค. ด้านจิตพิสัย
ง. เป็นได้ทั้งด้านความรู้และกระบวนการ
5. “เขียนบทความเพื่อแนะนำการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานการเรียนรู้นี้ดีหรือไม่เพราะเหตุใด
ก. ไม่ดี เพราะวัดและและประเมินได้ยาก
ข. ไม่ดี เพราะไม่สามารถวัดโดยการสังเกตได้
ค. ดี เพราะสามารถวัดและประเมินได้โดยใช้ข้อสอบ
ง. ดี เพราะสามารถวัดและประเมินได้จากการตรวจผลงาน
6. องค์ประกอบของแบบประเมินตามสภาพจริง ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือข้อใด
ก. เกณฑ์การประเมิน และคะแนนแต่ละเกณฑ์
ข. เกณฑ์การประเมิน และคำอธิบายระดับคุณภาพของแต่ละเกณฑ์
ค. คำอธิบายระดับคุณภาพของเกณฑ์การประเมิน และน้ำหนักคะแนนของเกณฑ์การประเมิน
ง. คะแนนและน้ำหนักคะแนนของแต่ละเกณฑ์
7. ข้อใดกล่าวถึงภาระงานตามสภาพจริงได้ถูกต้อง
ก. เป็นภาระงานที่ใช้ได้ทั้งการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้
ข. เป็นภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ทั้งความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงาน
ค. เป็นภาระงานที่ใช้ประเมินทั้งกระบวนการปฏิบัติงานและผลงานของผู้เรียน
ง. ถูกทุกข้อ
8. การกำหนดให้นักเรียนทำกิจกรรมใดที่ได้ผลการประเมินน่าเชื่อถือที่สุด
ก. เสนอผลงานที่ได้การสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์
ข. อธิบายขั้นตอนการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
ค. สาธิตการสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์ให้ครูและเพื่อนดู
ง. เขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
9. ครูให้ วิทย์ธวัช นำเสนอข่าวหนังสือพิมพ์โดยการอ่านให้เพื่อนในชั้นฟัง ควรใช้วิธีการใดที่เหมาะสมที่สุดในการประเมิน
ก. ให้นักเรียนในชั้นสรุปสาระสำคัญของข่าวที่ได้ฟัง
ข. ครูสังเกตและใช้แบบประเมินทักษะการอ่านไปพร้อม ๆกัน
ค. ครูบันทึกวีดิทัศน์แล้วให้นักเรียนในชั้นรวมทั้งครูคนอื่นเปิดดูแล้วช่วยประเมิน
ง. ครูและนักเรียนในชั้นสังเกตแล้วช่วยกันประเมินสรุปความสามารถในการอ่านโดยการอภิปรายร่วมกัน
10. ข้อใดครอบคลุมลักษณะที่ดีของเกณฑ์การประเมิน
ก. มีความชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย
ข. มีความชัดเจน เข้าใจง่าย สังเกตได้
ค. ระบุพฤติกรรมที่ชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย
ง. ระบุพฤติกรรมที่สังเกตได้ชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย
11. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์การประเมิน
ก. กำหนดจำนวนเกณฑ์เท่าที่จำเป็น
ข. ต้องประเมินให้ครบทุกกิจกรรม
ค. ต้องแจ้งเกณฑ์ในการประเมินให้ทราบก่อนปฏิบัติงาน
ง. กำหนดเกณฑ์การประเมินให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
12. เกณฑ์การประเมินที่สอดคล้องกับภาระงานควรมีลักษณะอย่างไร
ก. สามารถยืดหยุ่นและใช้ได้กับทุกสถานการณ์
ข. ใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
ค. มีการกำหนดคำอธิบายในการให้คะแนนไว้อย่างชัดเจน
ง. เป็นข้อความที่ระบุพฤติกรรมการปฏิบัติที่สามารถสังเกตได้
13. หากแบบประเมินตามสภาพจริงมีเพียงคำบอกระดับคุณภาพ แต่ไม่มีการอธิบายเกณฑ์การให้คะแนน จะมีผลอย่างไร
ก. การตรวจผลงานทำได้ช้า ไม่สะดวก
ข. ผลการวิเคราะห์มีความแม่นยำ ถูกต้อง
ค. ยากต่อการจัดประเภทของผลงานได้ตามคุณภาพจริง
ง. ผู้ตรวจสามารถให้คะแนนได้อย่างยืดหยุ่นตามสภาพจริง
14. “การใช้เกณฑ์การประเมินโดยวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียนที่สามารถอธิบายระดับคุณภาพของผลงานขึ้นมาก่อนว่าควรพิจารณาประเด็นใดบ้างแล้วจึงอธิบายระดับความสำเร็จในแต่ละประเด็นเป็นคำอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนแบบใด
ก. แบบภาพรวม                                                    ข. แบบการให้คะแนนตามองค์ประกอบย่อย
                ค. เป็นได้ทั้งสองแบบ                                           ง. ไม่ใช่ทั้งสองแบบ
15. จากชุดคำอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนดังต่อไปนี้ ควรเป็นการประเมินในหัวข้อใด
              คะแนน 1เนื้อหาสาระส่วนใหญ่ไม่ตรงประเด็น
              คะแนน 2 เนื้อหาสาระบางส่วนไม่ตรงประเด็น
              คะแนน 3 เนื้อหาสาระทั้งหมดตรงประเด็น
ก. ความตรงกับวัตถุประสงค์
ข. ความตรงของเนื้อหาสาระ
ค. ความตรงเชิงโครงสร้าง
ง. ไม่มีข้อถูก
16. ผลงานในแฟ้มแสดงผลการเรียนรู้ สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งใดบ้าง
               1) องค์ความรู้ในวิชาที่เรียน และแนวทางหรือวิธีการคิดที่ใช้ในการศึกษาเรื่องเหล่านั้น
               2) แนวทางในการประยุกต์ใช้ความรู้ ที่จะนำไปใช้ในการหาความรู้เพิ่มเติม
               3) การแสดงออกถึงความคิดหรือความสามารถต่างๆ เช่น การตัดสินใจ
               4) ผลงานที่ผู้เรียนได้ประดิษฐ์ คิดค้น หรือกิจกรรมการทดลอง
ก. ข้อ 1) และ 2) ถูกต้อง
ข. ข้อ 1) และ 3) ถูกต้อง
ค. ข้อ 1), 2) และ 3) ถูกต้อง
ง. ข้อ 1), 2), 3) และ 4) ถูกต้อง
17. ข้อใดเป็นการประเมินแฟ้มผลการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจัดทำขึ้นที่ดีที่สุด
ก. การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน ให้ผู้สอนเป็นผู้ประเมินเท่านั้น
ข. การประเมินพัฒนาการของผู้เรียน สามารถทำได้โดยตัวผู้เรียนเอง เพื่อน ผู้สอน และผู้ปกครอง
ค. การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน พิจารณาจากผลการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนเท่านั้น
ง. การประเมินพัฒนาการของผู้เรียน พิจารณาจากผลงานชิ้นที่ดีที่สุดในแฟ้มผลการจัดการเรียนรู้เท่านั้น
18. สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นสิ่งแรกก่อนที่ผู้สอนและผู้เรียนตัดสินใจร่วมกันแล้วว่าจะจัดทำแฟ้มแสดงผลการเรียนรู้ คือข้อใด
ก. การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ข. การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียนในการทำแฟ้มแสดงผลการเรียนรู้
ค. การศึกษาเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและรายวิชาที่สอน
ง. การพิจารณาว่าผลงานจากเรื่องที่เรียนเหมาะแก่การจัดทำแฟ้มแสดงผลการเรียนรู้หรือไม่
19. ข้อใดที่ไม่ใช่ประโยชน์ที่แท้จริงที่จะเกิดกับผู้เรียน ในขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานการเรียนรู้
ก. ผู้เรียนได้รู้จุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง
ข. ผู้เรียนได้รับการตัดสินผลการเรียนในรายวิชา
ค. ผู้เรียนสามารถใช้ประกอบในการเข้าศึกษาต่อ หรือสมัครงาน
ง. ผู้เรียนสามารถใช้ในการวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง
20. ข้อใดถือเป็นเอกสารในแฟ้มสะสมผลงานการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ก. บันทึกข้อความ                                                 ข. เกียรติบัตร
ค. ภาพถ่าย                                                             ง. ทุกข้อรวมกัน
ตั้งใจทำสุดๆ แต่ได้เพียง  15 / 20 คะแนนเองค่ะ  ขอให้ทุกท่านได้พิจารณาคำตอบด้วยนะคะ