วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทดสอบหลังเรียน 
UTQ-2129  การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
1.  ข  2.  ค  3.  ง  4.  ง  5.  ก  6.  ค  7.  ข  8.  ข  9.  ก  10.  ข  11.  ก  12.  ค  13.  ง  14.  ง  15.  ก   16.  ค  17.  ง  18.  ง  19.  ค  20.  ง  ได้  20 ค่ะ
               
UTQ-2127  การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1.ค  2.ค  3.ง  4.ค  5.ง  6.ก  7.ง  8.ง  9.ก  10.ง  11.ง  12.ก  13.ง  14.ง  15.ค  16.ก  17.ง  18.ค  19.ข  20.ง  ได้  19  ค่ะ
แบบทดสอบหลังเรียน 
UTQ-
2101  แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1. การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แตกต่างจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช
2544 อย่างไร
ก. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ข. การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
ค. การจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน
ง. การกำหนดตัวชี้วัดสำหรับนำไปจัดทำหน่วยการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และเป็นเกณฑ์สำหรับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2. เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คืออะไร
ก. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ข. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ค. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
ง. ข้อ ก - ค
3. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนไว้อย่างถูกต้อง
ก. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนเป็นเป้าหมายหลักที่ผู้เรียนต้องบรรลุในการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ
ข. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ค. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสามารถเพิ่มเติมได้ตามจุดเน้นของเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้
ง. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการสั่งสมประสบการณ์จากการเรียนรู้และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
4. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไม่ถูกต้อง
ก. คุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นเกณฑ์หนึ่งในการประเมินผลการเรียน
ข. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต้องใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือหลัก
ค. คุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นสิ่งที่เพิ่มเติมได้ตามจุดเน้นของเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้
ง. การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต้องดำเนินการพัฒนาโดยบูรณาการเข้าไปในกระบวนการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งในและนอกห้องเรียน
5. สิ่งใดต่อไปนี้ที่สามารถเพิ่มเติมได้ตามจุดเน้นของเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้
ก. ตัวชีวัด
ข. มาตรฐานการชี้วัด
ค. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ง. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
6. ข้อใดเป็นการกล่าวถึงเจตนารมณ์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  อย่างถูกต้อง
ก. เป็นเทคนิควิธีการสอน
ข. เป็นแนวทางในการประเมินผู้เรียน
ค. เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ง. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิดกับผู้เรียน โดยผ่านวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน
7. ข้อใดเป็นการกล่าวถึงเจตนารมณ์ของการกำหนดจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างถูกต้อง
ก. เป็นการแก้ไขจุดอ่อนของเด็กไทย
ข. เป็นการพัฒนาผู้เรียนที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนค. เป็นการสร้างคุณภาพในตัวผู้เรียนที่มีความครอบคลุมในด้านความสามารถและทักษะ ตลอดจนคุณลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร
ง. ข้อ ก
8. สิ่งใดไม่ใช่หลักการของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ก. ครูผู้สอนต้องมีข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ข. ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เรียนเป็นกลุ่มๆ ร่วมกับเพื่อนๆ
ค. ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด
ง. ผู้เรียนได้วางแผนการเรียนและเลือกปฏิบัติตามความถนัด
9. การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสำคัญต่อครูผู้สอนอย่างไร
ก. ช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ข. ช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้มีความยากง่ายเหมาะสมกับผู้เรียน
ค. ช่วยให้ครูตระหนักว่าเด็กทุกคนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการเดียวกันหมด
ง. ข้อ ก - ค
10. สิ่งใดคือลักษณะที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง
ก. การจัดสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ
ข. การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ค. การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ง. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนจากประสบการณ์จริง จากประสาทสัมผัส
11. ข้อใดกล่าวถึงความสำคัญของโครงสร้างรายวิชาไว้อย่างครอบคลุม ถูกต้อง
ก. ช่วยให้เห็นลำดับของการเรียนรู้
ข. ช่วยให้เห็นขอบข่ายของรายวิชา
ค. ช่วยให้เห็นภาพรวมของจำนวนหน่วยการเรียนรู้
ง. ช่วยให้เห็นภาพรวมของรายวิชา มาตรฐานการเรียน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลาเรียน และน้ำหนักคะแนน
ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชานั้นๆ
12. การกำหนดเวลาเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง
ก. จำนวนตัวชี้วัด น้ำหนักคะแนน ความยากง่ายของสาระสำคัญ
ข. ความยากง่ายของสาระสำคัญ จำนวนตัวชี้วัด น้ำหนักคะแนน
ค. จำนวนตัวชี้วัด ความยากง่ายของสาระสำคัญ วิธีการและกระบวนการเรียนรู้ที่นำมาใช้
ง. ความยากง่ายของสาระสำคัญ น้ำหนักคะแนน วิธีการและกระบวนการเรียนรู้
13. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. การจัดกลุ่มตัวชี้วัดควรมีความหลากหลาย
ข. ตัวชี้วัด 1 ตัวชี้วัด จะต้องอยู่หน่วยใดหน่วยหนึ่งเท่านั้น จะซ้ำไม่ได้
ค. ตัวชี้วัดบางตัวที่เห็นว่าไม่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องนำมาไว้ในหน่วยการเรียนรู้
ง. ตัวชี้วัดบางตัวที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญสามารถนำตัวชี้วัดนั้นๆ ไปพัฒนาผู้เรียนได้มากกว่า 1 หน่วยการเรียนรู้
14. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้สอน
ข. การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ ควรสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและสังคมของผู้เรียน
ค. การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ควรน่าสนใจ อาจเป็นประเด็น ข้อคำถาม ข้อโต้แย้งที่สำคัญ
ง. การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ควรเหมาะสมกับวัย ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน
15. ข้อใดคือความสำคัญของการกำหนดน้ำหนักคะแนนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ในโครงสร้างรายวิชา
ก. เพื่อใช้ในการวางแผนการเรียนรู้
ข. เพื่อจำแนกคะแนนเป็นรายหน่วย
ค. เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้กำหนดคะแนนรายปี/รายภาค
ง. เพื่อบ่งบอกถึงความสำคัญของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และใช้ในการประเมินระหว่างเรียน (Formative Evaluation) และ
ประเมินรวบยอด (
Summative Evaluation)
16. ข้อใดกล่าวถึงขั้นตอนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) ได้ถูกต้อง
ก. กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนรู้
ข. กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้
ค. กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เป้าหมายการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนรู้
ง. กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ เป้าหมายการเรียนรู้
17. สิ่งใดในข้อต่อไปนี้ ไม่ใช่ เป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้
ก. ตัวชี้วัด
ข. ชิ้นงาน/ภาระงาน
ค. มาตรฐานการเรียนรู้
ง. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
18. ข้อใดกล่าวถึงวิธีการวัดและประเมินผลที่ควรกำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้
ก. กำหนดให้มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายวิธี
ข. กำหนดให้มีการวัดและประเมินผลเฉพาะชิ้นงาน/ภาระงาน
ค. กำหนดให้มีการวัดและประเมินผลระหว่างและเมื่อสิ้นสุดการทำกิจกรรมการเรียนรู้โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินที่ต้องใช้ Rubric  กับเครื่องมือทุกประเภท
ง. กำหนดให้การวัดและประเมินผลระหว่างและสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนเกณฑ์การประเมินที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้
19. สิ่งใดในข้อต่อไปนี้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้
ก. มีความท้าทาย
ข. พัฒนาให้มีทักษะกระบวนการที่สำคัญ
ค. ใช้เทคนิค/วิธีการ สื่อที่นำผู้เรียนไปสู่การสร้างชิ้นงาน/ภาระงาน เกิดสมรรถนะสำคัญ ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ง. ใช้เทคนิค/วิธีการ สื่อที่จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เกิดสมรรถนะสำคัญ ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนสามารถสร้างชิ้นงาน/ภาระงานได้
20. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
ก. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการนำไปใช้ในชีวิตจริง
ข. ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในความแตกต่างของผู้เรียน
ค. เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจากประสบการณ์ไปสู่การสร้างองค์ความรู้ มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวคิด วางแผน และประเมินผลการเรียนรู้
ง. ข้อ ก

หลังเรียนทำได้  17  คะแนนค่ะ
ทดสอบหลังเรียน UTQ2110
แบบทดสอบหลังเรียน UTQ2110  ภาษาไทยประถม  20  ข้อ
1. ข้อใดเป็นผลการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีคุณภาพสูงที่สุดและเชื่อถือได้
ก.อ่านออกเขียนถูกรู้ความหมายใช้เป็น
ข.นักเรียนใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารได้ดี
ค.มีผลการเรียนผ่านตัวชี้วัดร้อยละ 70 ขึ้นไป
ง.ผลสอบ O-NET ผ่านเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 60
2. ระดับความสามารถในการอ่านของผู้เรียนขั้นใดที่ผู้อ่านรับคุณค่าของการอ่านได้ทันที
ก.อ่านเชิงสังเคราะห์
ข.อ่านถูกต้องตามอักขรวิธี
ค.อ่านรู้เรื่องเข้าใจเรื่องที่อ่าน
ง.การประยุกต์ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์
3. ข้อใดเป็นกระบวนการใช้ทักษะการคิดขั้นวิเคราะห์
ก.อ่านข่าวแล้วสนทนาวิพากษ์วิจารณ์ข่าว
ข.ค้นหาความหมายของคำศัพท์จากพจนานุกรม
ค.สัมภาษณ์จดบันทึกผลนำเสนอและเขียนรายงาน
ง.ฟังนิทานเล่าเรื่องย้อนกลับทำแบบฝึกหัดในใบงาน
4. ข้อใดเป็นคุณค่าของการรวบรวมข้อคิดคำคมจากวรรณคดีวรรณกรรม
ก.ได้เรียนรู้เรื่องราวในอดีต
ข.ซึมซับคุณค่าด้านภูมิปัญญา
ค.ซาบซึ้งในความงดงามทางภาษา
ง.รับการถ่ายทอดค่านิยมและประเพณี
5. ลักษณะสำคัญของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาพหุปัญญาของผู้เรียน สอดคล้องกับข้อใด
ก.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นส่งเสริมข้อบกพร่องของผู้เรียน
ข.จัดบทเรียนและกิจกรรมเป็นหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ค.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เต็มศักยภาพ
ง.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเลือกตามความสนใจ
6. การใช้หนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวส่งผลเสียต่อคุณภาพของผู้เรียนด้านใดมากที่สุด
ก.นักเรียนเบื่อเพราะลักษณะงานที่ทำซ้ำๆกัน
ข.แบบฝึกหัดสำเร็จรูปไม่ครอบคลุมตัวชี้วัด
ค.ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระทางความคิด
ง.ไม่สามารถจำแนกความสามารถของผู้เรียนได้
7. ข้อใดเป็นการจัดบทเรียนบูรณาการแบบคู่ขนาน
ก.ครูร่วมกันเป็นคณะเพื่อวางแผนสอนและประเมินผลผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน
ข.ครูร่วมกันวางแผนสอนเรื่องเดียวกันแล้วต่างจัดกิจกรรมในวิชาที่ตนสอน
ค.ครูวางแผนการเรียนรู้ร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้และประเมินผลร่วมกัน
ง.ครูร่วมกันวางแผนออกแบบกิจกรรม แล้วต่างประเมินผลในรายวิชาที่ตนสอน
8. ข้อใดเป็นปัญหาของทักษะภาษาไทยที่ส่งผลต่อคะแนนผลสอบ O-Net มากที่สุด
ก.ความสามารถในการอ่านตีความ
ข.ความสามารถในการเขียนสะกดคำ
ค.ความสามารถในการสื่อสารข้อมูล
ง.ความสามารถในการเข้าใจหลักการใช้ภาษา
9. การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนด้านการอ่านคิดวิเคราะห์คือข้อใด
ก.การอ่านเป็นคำเป็นประโยคแลพทำความเข้าใจเรื่อง
ข.การสอนแบบสะกดคำแจกลูกและค้นหาความหมาย
ค.การอธิบายความหมายของคำด้วยภาพและรูปประโยค
ง.การอ่านเพื่อค้นหาสาระสำคัญและการสรุปเรื่องที่อ่าน
10. การตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนเกิดจากกระบวนการในขั้นใด
ก.ขั้นที่ครูกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ในแต่ละครั้งที่สอน
ข.ขั้นที่ครูจัดระบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสูงสุด
ค.ขั้นที่ครูจัดกิจกรรมและสะท้อนผลให้ผู้เรียนได้ทำหลายๆแบบ
ง.ขั้นที่ครูเลือกกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมาย
11. ครูคนใดที่จัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลมากที่สุด
ก.ให้ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับบทเรียนตามความสนใจ
ข.เน้นกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและปฏิบัติจริง
ค.เลือกวิธีการวัดผลการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน
ง.กำหนดชิ้นงาน/แบบฝึกที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน
12. ข้อใดเป็น "กระบวนการเรียนรู้"ที่พัฒนาผู้เรียนด้านทักษะการคิดมากที่สุด
ก.อ่านเรื่อง ตอบคำถาม 5W 1 H สรุปและเขียนแผนภาพความคิด
ข.อ่านเรื่องตอบคำถามหมวก 6 สีเขียนเรื่อง/ดัดแปลงเรื่องที่อ่าน
ค.อ่านเรื่อง สนทนาอภิปรายแสดงความคิดเห็น เสนอวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่าง
ง.อ่านเรื่อง คิดวิเคราะห์สรุปเรื่องค้นหาข้อคิดและสำนวนภาษาที่น่าสนใจ
13. ข้อใดเป็นเหตุผลแสดงความอ่อนด้อยสมรรถนะของบุคคลด้านการแก้ปัญหามากที่สุด"
ก.ลงนามในสัญญากู้เงินโดยไม่อ่านสัญญา
ข.กินยาที่หมอพระผลิต / ยาผีบอกเพื่อรักษาโรค
ค.กราบไหว้จิ้งจก 2 หัว / กล้วยออกปลีกลางต้น ฯลฯ
ง.โอนเงินให้ผู้ที่โทรศัพท์มาบอกข้อมูลที่คิดว่าเราจะได้ประโยชน์
14. การช่วยผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จในการเรียนได้มากที่สุด ข้อใดที่ครูส่วนใหญ่ละเลย
ก.ครูจัดการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดของหลักสูตรได้ครบถ้วน
ข.ครูเตรียมบทเรียนสื่อและแหล่งเรียนรู้ได้สมบูรณ์ที่สุด
ค.ครูจัดบรรยากาศและออกแบบการเรียนรู้ได้สนุกและน่าสนใจ
ง.ครูวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและนำผลมาออกแบบการเรียนรู้
15. กิจกรรมใดที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะภาษาและกระบวนการกลุ่มได้มากที่สุด
ก.การเล่นเกมแข่งขันตอบคำถามเป็นทีม
ข.การแสดงละครหรือเล่นบทบาทสมมติ
ค.การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและนำเสนอ
ง.การทำสมุดรวบรวมคำศัพท์ คำคมที่น่าสนใจ
16. ผลของการอ่านขั้นใดที่แสดงให้เห็นว่าผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่อ่าน
ก.ตาสัมผัสกับตัวอักษรและรับรู้คำ-ข้อความที่เห็น
ข.สื่อความหมายรหัสภาษาและแสดงอาการตอบโต้
ค.นำผลการอ่านไปปฏิบัติและรายงานผลได้
ง.เล่าเรื่องได้ตามลำดับและวิจารณ์เรื่องได้

17. อะไรคือปัญหาที่ทำให้เด็กไทยไม่ชอบเขียนเรียงความ
ก.ไม่มีข้อมูลในการเขียน
ข.เขียนสะกดคำยากๆไม่ได้
ค.จัดระบบข้อมูลสู่การเขียนไม่ได้
ง.ไม่สามารถใช้คำในระดับภาษาเขียนได้
18. ตัวชี้วัดในการเขียนข้อใดเป็นตัวชี้วัดในระดับชั้นเรียนที่ต่ำที่สุด
ก.เขียนอธิบาย
ข.เขียนเล่าเรื่อง
ค.เขียนสื่อสาร
ง.เขียนจดหมาย
19. ครูให้นักเรียนหาคำมาต่อจากคำว่า "กระ"เช่นกระจาดกระท้อนกระต่าย ฯลฯแล้วทำกิจกรรมสำรวจว่าใครมีคำที่ไม่ซ้ำกับคนอื่นมากที่สุดครูกำลังฝึกทักษะการคิดด้านใดให้กับผู้เรียน
ก.คิดคล่อง
ข.คิดยืดหยุ่น
ค.คิดใหม่
ง.คิดแตกต่าง
20. ถ้าผลการประเมินผลความสามารถของผู้เรียนในการอ่านคิดวิเคราะห์เขียนสูงสะท้อนให้เห็นสภาพของสถานศึกษาว่าน่าจะมีสิ่งใดมากที่สุด
ก.มีกิจกรรมติวเข้มให้นักเรียนเป็นประจำสม่ำเสมอ
ข.มีครูที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยดี
ค.มีสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นนักเรียนให้มีความสนใจในการเรียนดี
ง.มีการสอดแทรกทักษะการอ่านคิดเขียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

ทำแล้วได้คะแนน  16 / 20  ค่ะ