วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
ประมวลภาพพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ
เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี















พระประสูติกาล
          สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติเมื่อ วันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรหนัก ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ซึ่งติดอยู่กับพระที่นั่งเทพสถานพิลาส สมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๖ ทรงมีโอกาส เฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท สมเด็จพระบรมชนกนาถ ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในวันพุธที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๘ จากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคต ในวันรุ่งขึ้น
ที่มา : ภาพจาก Facebook สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=3512



กิจกรรมเล่านิทาน
โรงเรียนอนุบาลุพทไธสง(โอภาสประชานุกูล)

23  มีนาคม  2555
            การเล่านิทานเป็นกิจกรรมบันเทิงใจ ที่มนุษย์ได้กระทำมานานก่อนการสร้างมหรสพประเภทอื่น การเล่านิทานเล่าได้ทุกที่และทุกโอกาส ไม่ต้องมีพิธีรีตองเเต่อย่างใด ฉะนั้นการเล่านิทานจึงนิยมกันเเพร่หลายในทุกชาติทุกภาษา ทุกชนชั้นและทุกวัย
จุดประสงค์ของการเล่านิทาน
            ๑.  เพื่อความบันเทิงใจในยามว่างจากการประกอบกิจการงาน
            ๒.  เพื่อเป็นสื่อในการสอนจริยธรรม
การเล่านิทาน แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
            ๑.  การเล่านิทานในครอบครัว เป็นการเล่านิทานสู่กันฟังเมื่อมีเวลาว่าง ไม่จำเป็นต้องมีผู้ฟังจำนวนมาก โดยอาจจะมีผู้ฟังเพียงคนเดียวหรือสองคน เวลาเเละสถานที่ในการเล่านิทานไม่จำกัด เนื้อเรื่องของนิทานขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้
                        ๑.๑  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่ากับผู้ฟัง ถ้าผู้ใหญ่เป็นผู้เล่าให้ลูกหลานฟัง จะเล่านิทานคติธรรม หากอยู่ในวัยเดียวกัน เรื่องที่เล่ามักเป็นนิทานมุกตลก
                        ๑.๒  ผู้เล่าจะเป็นผู้กำหนดเนื้อเรื่องนิทาน ถ้าผู้เล่าสนใจนิทานมุขตลกใดเป็นพิเศษ ก็มักจะจดจำเนื้อเรื่องนิทานประเภทนั้นได้ดี ผู้เล่าแต่ละเพศเเต่ละวัยจะสนใจนิทาน
เเตกต่างกัน เช่น ถ้าผู้เล่าเป็นเด็กหรือผู้ชาย มักจะจดจำนิทานประเภทมุขตลก
                        ๑.๓  เวลาเเละโอกาส ถ้าหากผู้เล่ามีเวลาว่างก็จะเล่านิทานยาว ๆ หลายตอนจบเเละมีเวลาทบทวนนิทาน
                        ๑.๔  ผู้ฟัง มีความสำคัญต่อนิทานที่นำมาเล่า เพราะนิทานประเภทต่าง ๆ ที่จะนำมาเล่าต้องขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ฟัง
การเล่านิทานในที่ชุมชน
            การเล่านิทานในที่ชุมชนค่อนข้างจะเป็นพิธีการ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยม เพราะในโอกาสที่ชาวบ้านมาร่วมกิจกรรมงานบุญกุศลทุกวันนี้ เจ้าภาพมีเครื่องบันเทิงใจอย่างอื่นมาทดเเทน เช่น วงปี่พาทย์ เครื่องเล่น เเถบบันทึกเสียง เเผ่นเสียง เป็นต้น การเล่านิทานในท้องถิ่นต่าง ๆ สมัยก่อน มีดังนี้
            ๑.  ภาคกลาง ในงานกุศล เช่น งานบวชนาค งานทอดกฐิน งานมงคลสมรส ผู้เล่ามักเป็นนักขับลำ (ลำ หมายถึง เพลง บทกลอน) เมื่อถึงตอนสำคัญจะเเทรกทำนองขับลำ
            ๒.  ภาคเหนือ ในงานศพ เจ้าภาพจะหาผู้ที่เล่านิทานเก่ง ๆ ในหมู่บ้านมาเล่าเนิทาน ถ้าเป็นร้อยแก้ว เรียกว่า "เล่าเจี้ย" ถ้าเป็นการขับลำนิทานสำนวนร้อยกรองประกอบดนตรี เรียก "เล่าค่าว" หรือ "ค่าวซอ"
            ๓.  ภาคอีสาน ในงานศพ (งานบุญเฮือนดี) จะมีการเล่านิทานพื้นบ้านเช่นกัน ต่อมาได้นำหนังสือวรรณกรรมพื้นบ้านมาอ่านเป็นทำนอง
เรียกว่า "ลำ" มีหลานทำนอง เช่น ลำพื้น ลำเรื่อง ลำเต้ย ลำเพลิน เป็นต้น
            ๔.  ภาคใต้ มีการเล่านิทานพื้นบ้านเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ มีวรรณกรรมประเภทกลอนสวด เเต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ได้แก่กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางค์นางค์ มาอ่านเป็นทำนองเสนาะในที่ประชุม เรียกว่า "การสวดหนังสือ" หรือ "สวดด้าน"

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ จังหวัดเลย
           
            ดินแดนซึ่งเป็นที่ก่อตั้งของจังหวัดเลย    มีหลักฐานและประวัติความเป็นมาว่าก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ ที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้อพยพผู้คนจากอาณาจักรโยนกที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้าง ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันจนถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา
ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย จากนั้นได้อพยพขึ้นไปตามลำน้ำและได้สร้างบ้านหนองคูขึ้น พร้อมกับนำชื่อหมู่บ้านด่านซ้ายมาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่เป็นเมืองด่านซ้าย และอพยพไปอยู่ที่บางยางในที่สุด
 

            ต่อมามีชาวโยนกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ ของอาณาเขตล้านช้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้ง เมืองเซไลขึ้น จากหลักฐานสมุดข่อยที่มีการค้นพบเมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็น มาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัยขึ้นจึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไลและได้ตั้งบ้านเรือนขึ้น  ขนานนามว่า  "ห้วยหมาน"
            ในปี 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยน้ำหมานและอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้  ตั้งเป็นเมืองเพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นเมือง เรียกชื่อ ตามนามของแม่น้ำเลยว่า "เมืองเลย"
           
         
ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองพื้นที่     ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลยออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมืองคือ อำเภอกุดป่อง ในปี    พ.ศ.2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และในปี 2450 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหืองให้คงเหลือไว้เฉพาะเมืองเลย โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็น อำเภอเมืองเลย จนถึงปัจจุบัน

    ศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลเลย  อำเภอเมือง  จังหวัดเลย
วันที่  20  มกราคม 2555
                 โรงเรียนอนุบาลเลยเปิดห้องเรียนพิเศษ (MEP:MiniEnglish program) โดยเปิดสอนในปีการศึกษา  2554 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 1 ห้อง สอนโดยครูต่างชาติ ร่วมกับครูไทยเป็นครูผู้ช่วย 
                โปรแกรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กชั้นประถมปีที่ 1  จัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพเป็นเลิศในวิชาดังกล่าว และเทียบเคียงมาตรฐานสากล ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
                การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นปกติ  มีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง  เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง  และเน้นความมีระเบียบวินัยของนักเรียน

                                                              ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก
                                                               มีความสุขเชียวนะ
                   ผู้อำนวยการวิรัช  ปัญญาวานิชกุล และกรรมการสถานศึกษา
               คุณครูหัวหน้าสายชั้นฯ และหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ก็ร่วมฟังการบรรยายด้วย
                                                   ถ่ายภาพกับครูสอนภาษาต่างประเทศ
                                           ดูการจัดการเรียนการสอนMiniEnglish program