วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

  
การประกันคุณภาพภายนอก รอบ
ความสำคัญและความเป็นมา
               ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.ศ.  2542  และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่  2)  พ.ศ.  2545  ได้กล่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาใน มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนจัดการศึกษาต้องส่งเสริมผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ 
               มาตรา  23  การจัดการศึกษา  ทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้  และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้                 1. ความรู้เกี่ยวกับตนเอง  และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม  ได้แก่  ครอบครัว  ชุมชน  ชาติ  และสังคมโลก  รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย  และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                2. ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมทั้งความรู้ความเข้าใจ  และประสบการณ์ด้านการจัดการ  การบำรุงรักษา  และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
                3. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา  ศิลปะ  วัฒนธรรม การกีฬา  ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
                4. ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา  เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
                5. ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ  และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
            มาตรา  24  การจัดกระบวนการเรียนรู้  ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไป
                1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ  และความถนัดของผู้เรียน  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
               2. ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด  การจัดการ  การเผชิญสถานการณ์  และการประยุกต์ความรู้  มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา
               3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ฝึกปฏิบัติให้ทำได้  คิดเป็น  ทำเป็น  รักการอ่าน  และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
              4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ต่างๆ  อย่างได้สัดส่วนสมดุล  รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม  ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
              5.ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียน  และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ทั้งนี้  ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียน  การสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
              6. การจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดา  มารดา  ผู้ปกครอง  และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย  เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
           มาตรา 47  ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ  
ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
 
ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
           มาตรา 48  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต่อสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
           มาตรา 49  ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบ
คุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการและแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ 
           ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
            มาตรา 50  ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง   ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการของสถานศึกษา รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามคำร้องขอของสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง ที่ทำการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษานั้น
            มาตรา 51  ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข
            จากมาตราดังกล่าวทำให้มีหน่วยงานที่ต้องประเมินคุณภาพการศึกษาที่กำเนิดมาพร้อมกับพระราชบัญญัตินี้คือ  หน่วยงานประเมินคุณภาพภายนอก  โดยกำหนดไว้ในมาตรา 49  ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน  และการประเมินคุณภาพการศึกษา  มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก  และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา  เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย และหลักการ  และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
           ให้การประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างนี้หนึ่งครั้งในทุกห้าปี  นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะชน
จำนวนรอบที่ประเมิน
          รอบแรก จึงเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543  และครบกำหนด 6 ปี ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในปี พ.ศ. 2548
          รอบที่ 2 เริ่มในปี พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2553 
          สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้ร่างคำอธิบายมาตรฐาน  ตัวบ่งชี้  และเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม(พ.ศ.2554-2558) สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรอบแนวคิดเชิงระบบ
           สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้จัดทำแนวคิดเชิงระบบสำหรับการดำเนินงานของสถานศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมายในการประกันคุณภาพการศึกษาดังนี้
 น้ำหนักการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม
            สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้กำหนดน้ำหนักการประเมินตามมาตรฐาน  การประกันคุณภาพภายนอกรอบสาม(พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558)
น้ำหนักร้อยละ
1. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
15
    1.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่ปฏิบัติหน้าที่นักเรียนที่ดีของโรงเรียน
5
    1.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
5
    1.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
5
2. ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
10
    2.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีสุขภาพดี  มีน้ำหนักส่วนสูง  และสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์  รวมทั้งรู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัย
5
    2.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีสุขภาพจิตดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น  และมีสุนทรียภาพ
5
3. ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน
15
    3.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน  สนใจ  แสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว และสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้
5
    3.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนสามารถเรียนรู้เป็นทีมได้
5
    3.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้
5
4. ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็น
15
    4.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
3
    4.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดสังเคราะห์
3
    4.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์
3
    4.4 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3
    4.5 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหา
3
5. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร
20
    5.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และม.6
3
    5.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และม.6
3
    5.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และม.6
3
    5.4 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และม.6
3
    5.5 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา ของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และม.6
2
    5.6 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และม.6
2
    5.7 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และม.6
2
    5.8 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และม.6
2
6. การบริหารและการพัฒนาสถานศึกษา
15
    6.1 ระดับความสำเร็จของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการกำกับดูแลและขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานศึกษา
4
    6.2 ระดับประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  และการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้
3
    6.3 ปริมาณและคุณภาพของครู
3
        6.3.1 สถานศึกษามีครูพอเพียง
1
        6.3.2 ครูมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
1
        6.3.3 ครูมีสมรรถนะตามที่กำหนด
1
   6.4 ประสิทธิผลการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใน 8 กลุ่มสาระ  ได้แก่
4
        6.4.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
0.5
        6.4.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
0.5
        6.4.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
0.5
        6.4.4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม
0.5
        6.4.5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา
0.5
        6.4.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
0.5
        6.4.7 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
0.5
        6.4.8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
0.5
7. การประกันและพัฒนาคุณภาพภายใน
10
   7.1 ระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายใน
3
   7.2 ผลการประกันคุณภาพภายในโดยต้นสังกัด
3
   7.3 การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพ
4
รวม
100